welcome to my blog E-Portfolio Subject to the Learning Experiences Management in Early Childhood Education ^_^

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

The Fourteenth Blog

The Fourteenth Blog
 April,25  2016
 14.30 PM - 17.30 PM
Teaching time  14.30 PM.  Attend class at  17.30 PM.  Finish class at 17.30 PM.


 What I have learned today 
      วันนี้เป็นคาบเรียนคาบสุดท้ายของวิชานี้แล้วอาจารย์ให้นักศึกษารวมพุดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน นักศึกษาคนไหนที่มีข้อสงสัยมีปัญหาในส่วนไหนสามารถที่จะถามอาจารย์ได้อาจารย์พร้อมที่จะช่วยเหลือตอบคำถามทุกคำถามจากนักศึกษาในทุกๆเรื่องทั้งในเนื้อหาที่ได้เรียนในวิชานี้และนอกเหนือจากเนื้อหาในชั้นเรียนเพื่อที่จะให้นักศึกษาแต่ละคนมีความพร้อมและมีความมั่นใจก่อนที่จะออกไปฝึกสอน

หลังจากที่อาจารย์รับฟังประเด็นปัญหาของนักศึกษาแต่ละคนพร้อมทั้งให้คำแนะนำดีๆเพื่อหาแนวทางในการแก้ไข อาจารย์ได้มีการให้นักศึกษาที่ยังไม่ทดลองสอนมาทดลองสอนให้อาจารย์ดู


  เพื่อนทดลองสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์หน่วยเห็ดกิจกรรมcooking

cooking เห็ดชุบแป้งทอด
ขั้นนำ
   1.ครูนำวัตถุดิบและอุปกรณ์มาวางไว้ให้เด็กดู แล้วถามเด็กๆว่า “เด็กๆคิดว่าวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่คุณครูเตรียมมาเราจะนำไปทำอาหารอะไรได้บ้างค่ะ”
ขั้นสอน
   2. ครูแนะนำวัตถุดิบ อุปกรณ์และวิธีการทำเห็ดชุบแป้งทอด มีดังนี้
    วัตถุดิบ                          อุปกรณ์
    -แป้งทอดกรอบ              -กระทะ
    -เห็ดเข็มทอง                  -ตะหลิว
    -เครื่องปรุง                     -จาน
    -น้ำเปล่า                         -ช้อน
      วิธีการทำ
     -นำเห็ดเข็มทองล้างน้ำ
     -นำแป้งทอดกรอบมาผสมกับน้ำและใส่เครื่องปรุง
     -ตั้งกระทะใส่น้ำมันรอให้ร้อน
     -นำเห็ดมาชุบแป้งแล้วเอาลงทอดในกระทะ
      -ตักเห็ดที่สุกแล้วใส่ในจานพร้อมรับประทาน
   3.ครูสาธิตวิธีการทำเห็ดชุบแป้งทอดให้เด็กนักเรียนดู
   4.ครูจัดเป็น 4 ฐาน  ดังนี้
         ฐานที่ 1 เขียนวิธีการทำเห็ดชุบแป้งทอดบนกระดาษ
         ฐานที่ 2 นำเห็ดเข็มทองมาล้างน้ำให้สะอาด
         ฐานที่ 3 ผสมแป้ง
         ฐานที่ 4 ทอดเห็ด
    5.ครูแบ่งเด็กเป็น 4 กลุ่ม เท่าๆกัน แล้วให้เด็กลงมือปฏิบัติที่ละฐานจนครบทุกฐานตามที่กำหนด
ขั้นสรุป
    6.ครูให้เด็กๆทบทวน วัตถุดิบ อุปกรณ์ และวิธีการทำเห็ดชุบแป้ง ไปพร้อมๆกัน
       7.ครูให้เด็กๆช่วยกันเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-ในขั้นตอนของการแนะนำอุปกรณ์ครูไม่ควรบอกยี่ห้อของวัตถุดิบที่ใช้
-การใส่น้ำมัน ครูบอกเป็นลิตรเด็กจะไม่เข้าใจให้ใช้การบอกเป็นถ้วยตวงแทน
-การเรียกลักษณะนามของเห็ดควรเรียกให้ถูก เห็ดเข็มทองมีหลายดอกควรใช้คำว่ามัด เช่น เห็ดเข็มทอง 2 มัด
-เครื่องปรุงรสดี ไม่ควรนับมาใช้เป็นเครื่องปรุงสำหรับทำอาหารให้เด็กอาจใช้เป็นเครื่องปรุงพื้นฐานเช่น เกลือ น้ำตาล แทน
-ตัวอย่าง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการทำเห็ดชุบแป้งทอด เริ่มจาก
    ตั้งประเด็นปัญหา                              -----> ทำอย่างไรเห็ดถึงจะกินได้?
    ตั้งสมมติฐาน                                    -----> เด็กๆคิดว่าถ้าเรานำเห็ดลงไปในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆจะเป็นอย่างไรคะ ไหนเราลองมาพิสูจน์ดูซิ
    การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต     -----> การทดลองทำเห้ดชุบแป้งทอด
    สรุป                                                  ----->   ดูซิว่าเห็ดชิ้นไหนของใครที่เป็นสีเหลืองเข้ม และชิ้นไหนที่ไม่เป็นสีเหลืองเข้ม
เสร็จแล้วทำกราฟสรุปและนำข้อมูลมานำเสนอ


                     เพื่อนทดลองสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะหน่วยส้ม

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-คำสั่งให้เด็กเคลื่อนไหวไปตามมุมของส้มชนิดต่างๆไม่ใช่การเคลื่อนตามจินตนาการแต่เป็นการเคลื่อนไหวแบบความจำ
-ฝึกฝนเรื่องของการเคาะจังหวะควรเคาะให้เป็นจังหวะที่ถูกต้องชัดเจนมากกว่านี้จะทำให้เด็กเข้าใจคำสั่งง่ายขึ้น


Things that need to be developed
จากปัญหาที่เพื่อนนักศึกษาร่วมกันเสนอ
-การปรับพฤติกรรมเด็กต้องมีวิธีการในการปรับพฤติกรรมของเด็กให้ดีขึ้นอาจจะต้องมีการไปศึกษาหลักจิตวิทยาเด็กเพื่อที่จะมีวิธีการแก้ไขในการปรับพฤติกรรมเด็กได้ดียิ่งขึ้น การตีเด็กไม่ใช่วิธีการปรับพฤติกรรมเพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น
-การจัดกิจกรรมแล้วเด็กไม่สนใจในสิ่งที่ครูสอน เทคนิคในการให้เด็กสนใจครูเลือกกิจกรรมที่น่าสนใจ มีสื่อที่หลากหลายกระตุ้นความสนใจให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี
-ในการสอนจะเน้นที่กระบวนการสอนและการแก้ปัญหาขณะที่สอน
-วิธีการในการปรับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเด็ก ครูอาจจะต้องมีการใช้หลักจิตวิทยาเช่นมีการให้ดาวเด็กมาช่วย เด็กจะค่อยๆลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
-วิธีการแก้ปัญหาในการสอนทำอย่างไรไม่ให้เกิดอาการตื่นเต้น ประหม่า เราจะต้องมั่นซ้อมด้วยตนเองบ่อยๆ
-กิจกรรมที่จัดโดยเฉพาะกิจกรรมศิลปะ ไม่ควรเลือกกิจกรรมที่ต้องใช้เวลาทำนานจนเกินไป


ประเมินผล (Evaluation)

 Self-Evaluation
     วันนี้ก็ป็นคาบเรียนคาบสุดท้ายของรายวิชานี้แล้วตลอดระยะเวลาที่ได้เรียนกับอาจารย์มีหลายครั้งที่รู้สึกกดดันเพราะกลัวว่าจะทำงานได้ไม่ถูกต้อง แต่การได้เรียนกับอาจารย์ก็ทำให้ฉันเป็นคนที่มีความกระตือรือในการทำสิ่งต่างๆมากยิ่งขึ้น กลายเป็นคนที่ละเอียดในการทำงานโดยเฉพาะการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ซึ่งฉันจะต้องใส่รายละเอียดให้มากขึ้น ถึงแม้จะรู้สึกกดดันบ้างแต่ก็เป็นประสบการณ์ที่ดีในการเรียนและอีกไม่กี่วันจะเริ่มชีวิตการเป็นนักศึกษาฝึกสอนคิดว่าความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชานี้และประสบการณ์การสอนและเทคนิคต่างๆของอาจารย์ที่อาจารย์ได้ถ่ายทอดมาจะสามารถนำมาปรับใช้ในการฝึกสอนได้คะ


 
 Friends-Evaluation
    วันนี้เป็นคาบเรียนสุดท้ายเพื่อนทุกคนมีส่วนร่วมและมีข้อเสนอแนะในการถามคำถามรวมถึงข้อสงสัยมากมาย วันนี้เพื่อนก็ได้รับความรู้วิธีการคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สามารถนำไปแก้ไขปัญหาของตนเองเพื่อนำไปปรับใช้ในอนาคตได้


Teacher-Evaluation
    วันนี้เป็นวันปิcourse ของการเรียนวิชานี้อาจารย์ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาถามทุกข้อสงสัยอาจารย์เป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาและตอบคำถามจากนักศึกษาทุกคนได้ละเอียดเป็นอย่างดี วันนี้การจัดการเรียนการสอนไม่เอื้ออำนวยขนาดต้องนั่งเรียนนอกห้องเรียนแต่อาจารย์ก็มีความพยายามที่จะสอนและมีความต้องการที่จะให้ความรู้กับนักศึกษาให้ได้จริงๆ อาจารย์มีความทุ่มเทในการสอนมาก อาจารย์จะไม่ปล่อยให้นักศึกษาได้เรียนรู้แบบผิดๆซึ่งนักศึกษาเรียนรู้ต้องมีความรู้ที่ถูกต้องจึงจะสามารถสอนคนอื่นได้


วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

The Thirteenth Blog

The Thirteenth Blog
 April,18  2016
 14.30 PM - 17.30 PM
Teaching time  14.30 PM.  Attend class at  17.30 PM.  Finish class at 17.30 PM.


 What I have learned today 
วันนี้แต่ละกลุ่มออกมาทดลองสอนในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของวันศุกร์และทดลองสอนในวันที่ต้องมีการแก้ไขการสอน

                Group1 สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วยยานพาหนะ

สอนเรื่องข้อควรระวังในการใช้รถยนต์
ขั้นนำ
1. ครูเล่านิทาน เรื่องปลอดภัยไว้ก่อน
2. ครูถามคำถามเกี่ยวกับข้อควรระวังในการใช้ยานพาหนะจากในนิทาน
ขั้นสอน
3. ครูถามปะสบการณ์เดิมของเด็กพร้อมเขียนคำตอบลงในแผ่นชาร์ต
4. ครูนำภาพการปฏิบัติตนในการใช้ยานพาหนะที่เหมาะสม และไม่เหมาะสมมาให้เด็กดู และนำไปติดบนแผ่นชาร์ต
ขั้นสรุป
5. ครูทบทวนข้อควรปฏิบัติตนในการใช้ยานพาหนะอย่างถูกต้องให้แก่เด็กๆ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
ข้อควรระวังเรื่องการดูแล เช็ดเครื่องยนต์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดูแลรักษาไม่ใช่เรื่องของความปลอดภัย
ข้อควรระวังควรพูดถึงเรื่องของ การนั่งรถควรคาดเข็มขัด การลงเรือควรนั่งให้เรียบร้อย ขับรถไม่เกินที่กำหนด เรียนรู้เรื่องกฎจราจร เป็นข้อปฏิบัติที่กำหนดให้ทำตามเพื่อความปลอดภัย


                            Group2 กิจกรรมเสริมประสบการณ์หน่วยส้ม
                                            กิจกรรมcooking ทำน้ำส้มคั้น orange juice

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-ขั้นตอนในการทำน้ำส้มขั้นนอกเหนือจากการเขียนแล้วต้องมีการวาดภาพประกอบทุกคำศัพท์ที่สามารถวาดออกมาเป็นภาพได้เพราะเด็กไม่สามารถอ่านออกได้ ถ้าวาดภาพเด็กจะเข้าใจได้ง่าย
-ขั้นตอนในการทำน้ำส้มที่เขียนลงในชาร์ทยังไม่ละเอียด ต้องมีการเขียนเป็นขั้นตอนที่ชัดเจนกว่านี้ขั้นตอนแรกก่อนการนำส้มไปคั้นอย่าลืมที่จะล้างส้มให้สะอากก่อน
-ในขั้นแรกของการสอน ครูต้องเริ่มจากการแนะนำอุปกรณ์ให้เด็กรู้จักก่อน คือ แก้วน้ำ ที่คั้นน้ำส้ม และต่อไปค่อยแนะนำวัตถุดิบ คือ ส้ม น้ำตาล เกลือ หลังจากแนะนำอุปกรณ์และวัตถุดิบเสร็จแล้วครูจะเปิดประเด็นในขั้นนำโดยใช้คำถาม ถามเด็กๆว่า เด็กๆคิดว่าคุณครูนำอุปกรณ์และวัตถุดิบเหล่านี้มาทำอะไรคะ? หลังจากที่เด็กตอบคำถามคุณครูแล้วคุณครูก็จะสาธิตขั้นตอนการทำน้ำส้มคั้นให้เด็กดู เหตุผลที่ต้องสาธิตให้เด็กดูก่อนก็เพื่อที่จะให้เด็กเข้าใจขั้นตอนการทำน้ำส้มถ้าไม่สาธิตเด็กก็จะไม่สามารถคั้นน้ำส้มเองได้เพราะการคั้นน้ำส้มเป็นการทำที่มีขั้นตอนที่แน่นอนไม่สามารถทำมั่วๆเองได้ หลังจากที่คุณครูสาธิตการทำน้ำส้มให้เด็กดูแล้วครูอาจจะต้องมีการแบ่งกลุ่มให้เด็กทำน้ำส้มโดยให้เด็กๆแต่ละกลุ่มออกมายกวัตถุดิบในการทำน้ำส้ม หลังจากที่เด็กทำน้ำส้มคั้นเสร็จแล้วคุณครูจะให้เด็กๆออกมาเล่าการทำน้ำส้มของตนเองว่าเด็กรู้สึกอย่างไร มีปัญหาอะไรบ้างจากการทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม
-กิจกรรมนี้สามารถสอดแทรกสาระทางคณิตศาสตร์ได้ขณะที่เด็กแบ่งน้ำแข็งในเรื่องการแบ่งจำนวนน้ำแข็ง เช่น น้ำแข็งครึ่งแก้ว เมื่อเทรวมกัน2 แก้วได้เต็ม 1 แก้วพอดี ได้เรื่องของการรวม แต่ถ้าจะสอนการแบ่งครึ่งอาจจะให้เทน้ำแข็งออกมาครึ่งหนึ่งใน1 แก้วจะได้น้ำแข็งทั้งหมด 2 แก้ว
-การเขียนชาร์ทให้เขียนแยกระหว่างอุปกรณ์กับวัตถุดิบให้ชัดเจนไม่ควรนำมารวมกัน ปริมาณของวัตถุดิบต้องบอกให้ชัดเจนด้วยว่ามีปริมาณเท่าใดการบอกปริมาณสำหรับเด็กอาจบอกเป็น กี่แก้ว หรือ กี่ช้อน แทนได้
-สาระที่ควรเรียนรู้ควรเขียนว่า ส้มสามารถนำไปทำเป็นเครื่องดื่มได้เช่นทำน้ำส้มคั้นได้โดยมีขั้นตอนดังนี้....(อธิบายขั้นตอนการทำ)


                        Group3 กิจกรรมเสริมประสบการณ์หน่วยกล้วย

                                                      กิจกรรมcooking ทำกล้วยกวน

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-แผ่นเขียนชาร์ทต้องมีการเขียนบอกสัดส่วนของวัตถุที่ใช้ให้ละเอียดชัดเจน และในการทำวัตถุดิบต้องมี การวางเรียงใส่ถ้วยหรือจาน หรือใส่แก้วให้เด็กเห็นสัดส่วนได้ชัดเจน
-การแบ่งกลุ่มให้เด็กทำเป็นฐานอาจแบ่งได้ดังนี้ การแบ่งเป็นฐานจะให้เด็กทำาลับกันให้ครบทุกฐาน
     กลุ่มที่1 ให้เด็ก วาดภาพสัดส่วน วัตถุดิบในการทำกล้วยเชื่อม
     กลุ่มที่2  ให้เด็กปอกกล้วยและหั่นกล้วยของแต่ละคนและหยิบกล้วยใส่ถ้วยของแต่ละคน
     กลุ่มที่3  .ให้เด็กมาดูขั้นตอนวิธีการทำของคุณครู ให้ดูว่ากล้วยจะสุกได้อย่างไร เด็กจะได้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในขั้นตอนนี้ 
-กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนแรกของกระบวนการวิทยาศาสตร์คือการตั้งประเด็นปัญหา คำถามในการตั้งประเด็นปัญหาเช่น ทำอย่างไรให้กล้วยสุกและกลายเป็นของหวานได้
ขั้นที่2คือตั้งสมมติฐาน เช่น ถามเด็กๆว่าถ้าคุณครูเอากล้วยใส่น้ำเชื่อมที่มีเฮลบูบอยจะเกิดอะไรขึ้น
ขั้นที่3ทดสอบสมมติฐาน คือให้เด็กสังเกตดูการเปลี่นแปลงของกล้วยเป็นขั้นตอนของการสังเกตสมมติฐานและเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อเป็นการสรุป (การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์สรุปและนำไปตอบกับสมมติฐาน)
เครื่องมือที่ใช้คือ การสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูล 
-สาระที่ควรเรียนรู้ เขียนว่า กล้วยนำไปทำประกอบอาหารประเภทของหวานได้เช่นกล้วยเชื่อมได้โดยมีขั้นตอนดังนี้....(อธิบายขั้นตอนการทำ).
-การจัดกิจกรรมcooking
  ในขั้นนำ เริ่มจาก1-ครูแนะนำวัตถุอุปกรณ์และส่วนผสม
                            2 -ครูถามเด็กๆว่าวัตถุอุปกรณ์ที่นำมาสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง
   ขั้นสอน             3 ครูแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม
                                กลุ่มที่1วาดรุปส่วนผสมและอุปกรณ์
                                กลุ่มที่2 ปอกกล้วย หั่นกล้วยออกเป็น 4 ส่วน
                                กลุ่มที่3 ทดลองเชื่อมกล้วย
                           ให้เด็กๆหมุนเวียนกันทำให้ครบทุกกลุ่ม
  ขั้นสรุป             คุณครูและเด็กๆร่วมกันสรุปขั้นตอนในการเชื่อมกล้วย


                          Group4 กิจกรรมเสริมประสบการณ์หน่วยผีเสื้อ

                                                      กิจกรรมcooking ทำขนมปังปิ้งหน้าผีเสื้อ
ขั้นนำ
1.ครูแนะนำวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่นำมาให้เด็กๆฟัง
2.ครูใช้คำถามกับเด็กๆว่า เด็กๆคิดว่าวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ครูนำมาวันนี้สามารถนำมาทำอะไรคะ
ขั้นสอน
3.ครูสาธิตวิธีการทำให้เด็กๆดูทีละขั้นตอนอย่างละเอียด
4.แบ่งกลุ่มเด็กเป็น 4 กลุ่ม และเข้าตามฐานดังนี้
   กลุ่มที่ วาดรูปวัตถุดิบและอุปกรณ์
   กลุ่มที่ 2  ปิ้งขนมปัง
   กลุ่มที่ 3  ทาเนย
   กลุ่มที่ ตกแต่งขนมปัง ( รูปผีเสื้อ )
หมุนเวียนทำจนครบทุกฐาน
ขั้นสรุป
5.เด็กๆออกมานำเสนอผลงานของตนเองและเล่าปัญหาในการทำ
6.ครูและเด็กร่วมกันสรุปวัตถุดิบ-อุปกรณ์ และวิธีการทำขนมปังปิ้ง

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
สาระที่ควรเรียนรู้เขียนว่า ผีเสื้อมีความสวยงามคนเราเลยมักจะเอามาใช้เป็นเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ตกแต่งสิ่งต่างๆ
โต๊ะกลุ่มที่2 ปิ้งขนมปัง สามารถสอนให้เด็นเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาสาสตร์ เริ่มจาก ตั้งสมมติฐานว่า เด้กๆคิดว่าถ้าเราใส่ขนมปังลงไปในเครื่องปิ้งขนมปังจะเกิดอะไรขึ้น หลังจากตั้งสมมติฐานแล้วจะไปที่การทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐาน ขณะที่ทดลองเราจะเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกตการเปลี่ยนแปลงเช่น ครูถามว่า สีขนมปังเป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร แข็งหรืออ่อน



Things that need to be developed
-ลักษณะการทำ cooking ให้เด็กทำกิจกรรมมี 2 แบบ แบบที่1 ให้เด็กทำไปพร้อมๆกัน และ แบบที่2 ให้เด็กแบ่งกลุ่มทำเป็นฐานแต่ละฐาน ทั้งนี้ในการเลือกนำมาใช้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมcookingที่เราจัดว่ามีความยากง่ายและมีขั้นตอนยุ่งยากมากเพียงใด
-มีภาพมาประกอบคำศัพท์ การจัดบอร์ดทำสื่อควรมีการทำให้มีมิติ ทำสื่อที่น่าสนใจก็จะทำให้การสอนดูน่าสนใจและสามารถกระตุ้นให้เด็กสนใจในสิ่งที่ครูสอนได้
-ครูสามารถสอดแทรกกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาสอดแทรกในการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยกระบวนการแรกให้เด็กเริ่มจากการตั้งประเด็นปัญหา ตั้งสมมติฐาน ทดสอบสมมติฐาน
-การจัดกิจกรรมcookingสามารถสอนเด็กๆในเรื่องของความเอื้อเฟื้อ ความสามัคคีได้เพราะขณะที่เด็กทำงานร่วมกันเด็กต้องช่วยเหลือกันมีการแ่บ่งหน้าที่กันเพื่อที่จะทำcookingได้สำเร็จ
-กระบวนการวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการนำมาปรับบูรณาการใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อฝึกให้เด็กมีทักษะการคิด สังเกต ได้เป็นอย่างดี




ประเมินผล (Evaluation)

 Self-Evaluation
 ฉันก็ได้ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนอย่างเต็มที่ รู้สึกสนุกและตื่นเต้นกับกิจกรรมในวันนี้มากๆโดยเฉพาะกิจกรรมcooking ฉันได้มีส่วนร่วมในการเป็นเด็กนักเรียนและได้ช่วยกันทำcookingซึ่งเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจอย่างมาก   กิจกรรมcookingในวันนี้เหมือนจะง่ายแต่ก็สามารถสอดแทรกความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์นำมาสอนเด็กๆได้เป็นอย่างดี


 Friends-Evaluation

   บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้ดูสนุกสนานและไม่ค่อยน่าเบื่ออาจเป็นเพราะวันนี้มีกิจกรรมcookingของแต่ละกลุ่ม เพื่อนๆทุกคนมีความกระตือรือร้นในการฟังการสอนของเเต่ละกลุ่มด้วยความสนใจ   
สำหรับการสอนของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม เกือบทุกกลุ่มมีความตั้งใจและเตรียมพร้อมในการสอนดีให้ออกมาให้ดีที่สุด เห็นได้จากการเตรียมสื่ออุปกรณ์มาสอนมากมายสื่อที่เตรียมมาก็เป็นของที่ใช้ได้จริงยิ่งทำให้เพื่อนในห้องเรียนสนใจอย่างมาก เพื่อนทุกกลุ่มมีความมั่นใจในการสอนทุกกลุ่ม


Teacher-Evaluation
       อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและเทคนิคการสอนที่หลากหลายเพื่อที่จะให้นักศึกษานำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น คำแนะนำและเทคนิคที่อาจารย์ให้ละเอียดและเยอะทุกขั้นตอนมากซึ่งนักศึกษาจะสามารถนำความรู้ที่อาจารย์ให้ไปใช้ได้จริงเมื่อไปฝึกสอน อาจารย์จะเน้นย้ำเสมอว่าให้ตั้งใจฟังเพื่อนสอนและทุกคนต้องช่วยกันแก้ไขเพราะทุกคนจะต้องสอนเหมือนกันหมดเมื่อไปฝึกสอนไม่สามารถเลือกได้ว่าจะสอนหน่วยไหน อาจารย์ได้ให้เทคนิคการสอนที่เน้นการบูรณาการโดยเฉพาะทักษะการบูรณาการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการจัดกิจกรรมcooking