welcome to my blog E-Portfolio Subject to the Learning Experiences Management in Early Childhood Education ^_^

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

The ninth Blog

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ


The Ninth Blog
 March,21  2016
 14.30 PM - 17.30 PM
Teaching time  14.30 PM.  Attend class at  17.30 PM.  Finish class at 17.30 PM.



หมายเหตุ =ชดเชยการเรียนการสอนในวันที่14 มีนาคม

What I have learned today
กิจกรรมในวันนี้สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะของวันอังคารและกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของวันจันทร์

Group1 หน่วย ส้ม
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะหน่วยส้ม

กิจกรรมสัมพันธ์กับเนื้อหา ให้เด็กเคลื่อนไหวตามคำสั่งของคุณครูโดยให้เด็กๆเคลื่อนไหวไปตามมุมของส้มชนิดต่างๆทั้ง 4 มุม

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
- การเคาะจังหวะ ควรเคาะจังหวะให้ชัดเจน
- คำสั่งที่ใช้สั่งต้องชัดเจน มีการทวนคำสั่งให้เด็กๆเข้าใจ
- เคลื่อนไหวพื้นฐานมีแค่จังหวะปกติและจังหวะเร็ว และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่
- ควรสอนให้ตรงตามแผนที่เขียนไว้ วางแผนไว้แบบไหนสอนตามที่วางแผนไว้
- ควรสอนตามลำดับขั้นตอน เริ่มจากกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน กิจกรรมสัมพันธ์กับเนื้อหา กิจกรรมพักคลายกล้ามเนื้อ
- ใช้คำสั่ง คำว่าให้เด็กๆ 2 คนวิ่งไปที่มุมนี้ มุมนี้ไม่ได้ กับเด็กไม่ได้ ไม่เหมาะสม เพราะเด็กจะคิดว่าตนเองจะต้องออกไปจะทำให้เกิดการปะทะกันได้ ควรเปลี่ยนใช้คำสั่งอื่นแทนให้ชัดเจนมากกว่านี้


กิจกรรมเสริมประสบการณ์หน่วยส้ม

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
- ควรมีการเตรียมภาชนะสำหรับใส่ส้ม เช่น ตะกร้า จาน เป็นต้น
- การเขียนแผน ควรเขียนแผนการสอนให้มีรายละเอียดที่ชัดเจน
- จัดกิจกรรมให้ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กโดยจะต้องจัดให้เด็กได้สังเกต สัมผัสของจริง
- ในการสอนเสริมประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยไม่ควรจะเป็นการพูดให้ความรู้เด็กหรือบรรยายมากเกินไปเพราะเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ที่จะเข้าใจอะไรได้ง่ายดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนการจัดการสอน มีการใช้สื่อการสอนมาช่วยสอนจะทำให้เด็กเข้าใจมากขึ้น


Group2 หน่วยผีเสื้อ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะหน่วยผีเสื้อ


กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหาของกลุ่มผีเสื้อ
เริ่มจากคุณครูให้เด็กจับกลุ่มให้เด็กนับตัวเลขเพื่อจับกลุ่ม 1 2 3 ใครที่ได้เลยเหมือนกันให้อยู่กลุ่มเดียวกัน
    กลุ่มที่1 ให้เด็กปรบมือตามจังหวะ
    กลุ่มที่2 เคลื่อนไหวประกอบเพลงผีเสื้อ
    กลุมที่3 ร้องเพลงผีเสื้อ
หลังจากนั้นคุณครูจะสลับกลุ่ม ให้ แต่ละกลุ่มสลับกัน ปรบมือ เคลื่อนไหว และร้องเพลง ทุกกลุ่มจะได้ทำจนครบ
เพิ่มเติม-ในขั้นตอนแรกครูต้องให้เด็กร้องเพลง ทำท่าทาง ประกอบจังหวะไปพร้อมๆกันก่อน แล้วค่อยแบ่งเด็กจับกลุ่มผลัดกันร้อง เต้น ตบมือ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-เพลงที่นำมาใช้ให้เด็กร้องในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะต้องเป็นเพลงที่เด็กสามารถร้องได้แล้ว เพลงที่นำมาร้องในวันอังคารอาจเป็นเพลงที่เด็กร้องในวันจันทร์มาแล้ว ในการร้องเพลงในกิจกรรมนี้ไม่ควรใช้ชาร์ทเพลง กิจกรรมนี้จะเน้นที่การเคลื่อนไหวทางกาย
-ในการร้องเพลงครูต้องร้องเพลงพร้อมกับเด็กก่อนแล้วกำกับจังหวะโดยให้เด็กได้จับกลุ่มผลัดกันร้องเพลง ผลัดกันเต้น ผลัดกันตบมือ แบ่งเป็นสามกลุ่ม เพิ่มเติมครูอาจเพิ่มเป็นการใช้เครื่องเคาะจังหวะให้เด็กเป็นคนเคาะจังหวะเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง เด็กจะรู้สึกตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น
- กิจกรรมพักคลายกล้ามเนื้อไม่ควรใช้เวลานานมากเกินไป ไม่ควรให้เด็กทำเยอะ เพราะเด็กได้ทำทุกวันสม่ำเสมอ


                                                กิจกรรมเสริมประสบการณ์หน่วยผีเสื้อ
                                                   คุณครูสอนเด็กๆเรียนเรื่องชนิดของผีเสื้อ

ขั้นนำ คุณครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจองผีเสื้อ หลังจากท่องคำคล้องจองเสร็จคุณครูถามเด็กๆเกี่ยวกับคำคล้องจองที่ท่องไปว่า ในคำคล้องจองมีผีเสื้ออะไรบ้าง ขณะที่เด็กๆบอกชนิดของผีเสื้อคุณครูก็จะเขียนลงบนMind map พร้อมกับนำรูปผีเสื้อชนิดนั้นๆมาแปะลงด้วย จากนั้นคุณครูถามเด็กๆว่า นอกจากคำคล้องจองเด็กๆรู้จักผีเสื้ออะไรบ้าง แล้วคุณครูก็จะเขียนลงบนMimd map โดยใช้สีปากกาสีอื่น
ขั้นสอน
    คุณครูนำตะกร้าที่มีผ้าคลุมมาแล้วทายเด็กๆว่าครูนำอะไรมา หลังจากที่เปิดแล้ว คุณครูถามเด็กๆว่ามีผีเสื้ออยู่กี่ตัว เมื่อเด็กตอบคุณครูก็จะพูดว่า งั้นเรามาพิสูจน์กันดีกว่า โดยให้เด็กๆนับผีเสื้อไปพร้อมๆกัน ระหว่างที่หยิบผีเสื้อขึ้นมานับคุณครูจะถามเด็กๆด้วยว่าผีเสื้อที่หยิบขึ้นมาชื่ออะไร ถ้าเด็กตอบไม่ได้คุณครูให้เด็กๆพูดชื่อผีเสื้อตามคุณครู เมื่อหยิบผีเสื้อขึ้นมาวางเรียงกันแล้วคุณครูและเด็กๆนับจำนวนผีเสื้อไปพร้อมๆกัน หลังจากนับเสร็จแล้วคุณครูถามเด็กอีกครั้งว่ามีผีเสื้อทั้งหมดกี่ตัวเพื่อเรียนรู้เรื่องของจำนวน จากนั้นให้ตัวแทนเด็ก 1 คนออกมาหยิบตัวเลข ไป ปักไว้หน้าจำนวนของผีเสื้อให้ตรงกันขณะที่เด็กออกไปปักตัวเลขเด็กจะได้เรียนรู้เรื่องการสังเกตและแยกจัดประเภทหมวดหมู่ หลังจากนั้นคุณครูถามเด็กๆว่าผีเสื้อกลุ่มไหนมีมากกว่ากันและใช้คำถามถามเด็กๆว่า>>เรามาพิสูจน์กันสิว่าผีเสื้อกระท้อนกับไม่ใช่ผีเสื้อกระทอนกลุ่มไหนที่มีมากกว่ากัน เด็กได้ในเรื่องของจำนวนและการดำเนินการในสาระที่1 โดยในการพิสูจน์ครูจะให้เด็กๆ หยิบผีเสื้อกระท้อนออกมา1 ตัว และไม่ใช่ผีเสื้อกระทอนออกมา 1ตัว พร้อมๆกันเป็นการจับคู่ 1:1 หลังจากที่หยิบออกมาจนหมดแล้ว คุณครูใช้คำถามถามเด็กๆว่าผีเสื้อกลุ่มไหนที่ยังมีเหลืออยู่(สอนเรื่องของมากกว่า)แสดงว่าผีเสื้อที่ไม่ใช่ผีเสื้อกระทอนมีมากกว่าผีเสื้อกระท้อน ในทางกลับกันแต่ถ้าคุณครูถามว่าผีเสื้อกระท้อนกับไม่ใช่ผีเสื้อกระท้อนกลุ่มไหนที่หมดก่อน(สอนเรื่องของน้อยกว่า)แสดงว่าผีเสื้อกระท้อนน้อยกว่าที่ไม่ใช่ผีเสื้อกระท้อน
ขั้นสรุป
คุณครูและเด็กๆร่วมกันท่องคำคล้องจองผีเสื้อและถามเด็กๆว่าวันนี้เด็กๆรู้จักผีเสื้ออะไรไปแล้วบ้าง

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-นอกเหนือจากการเขียนชื่อผีเสื้อแต่ละชนิดครูสามารถนำรูปผีเสื้อมาติดที่แผ่นชาร์ทเพิ่มเติมได้ถ้าไม่ใช้การวาดรูป
-การนับจำนวนจำนวนแรกให้เริ่มนับจากฝั่งขวาของครูหรือด้านซ้ายของเด็ก
สีปากกาที่ใช้เขียนคำว่า ผีเสื้อ ต้องเหมือนกัน เพื่อให้เด็กเห็นความแตกต่าง
-ในการให้เด็กนับลำดับทุกๆครั้งไม่ว่าจะกิจกรรมใดครูควรเริ่มให้เด็กคนที่นับหมายเลขหนึ่งโดยเริ่มจากฝั่งเรียงลำดับที่อยู่ทางขวามือครูหรือซ้ายมือของเด็กเสมอ
-สีปากกาที่ใช้เขียนชนิดของผีเสื้อที่นอกจากคำคล้องจองให้เขียนโดยใช้สีคนละสี
-ชนิดของผีเสื้อที่นำมาไม่ควรมากเกินไป อาจมีเพียงแค่ 3-4 ชนิด กำลังพอดีเพราะเด็กจะจำไม่ได้



Group2 หน่วยผัก
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะหน่วยผัก

กิจกรรมสัมพันธ์กับเนื้อหา
    คุณครูและเด็กๆร่วมกันร้องเพลง ผัก โดยคุณครูร้องและเต้นให้เด็กดูก่อน
  หลังจากที่คุณครูเต้นและร้องให้เด็กดูแล้วคุณครูให้เด็กๆเต้นไปพร้อมๆกัน
  จากนั้นให้ตัวแทนเด็ก 1 คนออกมานำเต้นและสลับออกมาเต้นจนครบทุกคน

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะไม่ต้องใช้แผ่นชาร์ท ถ้าเด็กร้องไม่ได้
-ในกิจกรรมสัมพันธ์กับเนื้อหาครูไม่ควรนำเต้นในตอนแรกก่อนเพราะเมื่อตอนที่เด็กออกมานำgต้นเด็กอาจไม่ได้ใช้ความคิดของตนเองบางคนอาจจะเต้นตามท่าที่คุณครูพาเต้น ครูควรให้เด็กออกมานำเต้นเลยเด็กจะได้ฝึกคิด และรู้สึกมั่นใจในตนเอง
-เด็กออกมานำเต้นไม่จำเป็นต้องออกมาครบทุกคน ให้ออกมาประมาณ 5-6 คนพอ


กิจกรรมเสริมประสบการณ์หน่วยผัก


ขั้นสอนในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ให้เด็กแยกประเภทของผักที่กินดอกกับผักที่กินใบ หลังจากแยกประเภทเสร็จ คุณครูให้เด็กๆนับประเภทของผักที่กินดอกจากนั้นให้เด็กออกมาหยิบตัวเลขมากำกับประเภทของผักที่กินดอก และคุณครูให้เด็กๆนับประเภทของผักที่กินใบแล้วให้เด็กๆออกมาติดตัวเลขกำกับผักที่กินใบ จากนั้นคุณครูถามเด็กๆว่าผักชนิดที่กินดอก

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-ในชาร์ทแผ่นเขียนประเภทของผักที่กินดอกและผักที่กินใบต้องเขียนแยกเป็นตารางให้ชัดเจน
-การเขียนลายมือในแผ่นชาร์ทต้องเขียนให้ชัดเจน หัวกลมตัวเหลี่ยม ไม่ใหญ่ไม่เล็กจนเกินไป
-ผักที่เอามาไม่ควรเยอะจนเกินไป
-เมื่อไปสอนจริงๆควรนำผักที่เป็นผักจริงๆมาสอน  วิธีการได้ผักจริงๆมาสอนคุณครูจะต้องใช้วิธีการทำจดหมายขอผักจากผู้ปกครอง
-เกณฑ์ในการแยกประเภทให้เลือกมา 1 เกณฑ์ จะเลือกเกณฑ์ของผักที่กินใบหรือผักที่กินดอกก็ได้
-ถ้าเราใช้เกณฑ์ของผักที่กินใบเป็นหลัก ผักที่กินได้ทั้งใบและดอกเราจะต้องให้มาอยู่ในเกณฑ์ของผักที่กินใบเพราะมันสามารถกินใบได้ ใช้เกณฑ์ของผักที่กินใบเป็นหลัก
-ในการสอนครั้งแรกถ้าสอนมากกว่า น้อยกว่า เลือกมาเพียงอย่างเดียว ไม่ควรเลือกทั้งสองอย่างพร้อมกัน
-การวางเรียงตัวเลข เรียงจากขวามือของครูหรือทางซ้ายมือของเด็ก



Group2 หน่วยยานพาหนะ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะหน่วยยานพาหนะ


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหาให้เด็กเคลื่อนไหวตามคำบรรยายของคุณครูสมมติให้เด็กๆออกไปเที่ยวโดยใช้ยานพาหนะชนิดต่างๆ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-กิจกรรมพื้นฐาน อาจเพิ่มเติมให้เด็กเคลื่อนไหวโดยใช้ปลายเท้า และให้เด็กเคลื่อนไหวโดยคุณครูใช้คำสั่งเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหวเพื่อให้เด็กไม่เบื่อ
-ถ้าคำสั่งให้เด็กหยุด ตัวอย่างเช่นจะหยุดให้เด็กขึ้นรถครูต้องเคาะ2ครั้งติดกันเพื่อให้เด็กทราบว่าต้องหยุดก่อน


กิจกรรมเสริมประสบการณ์หน่วยยานพาหนะ


กิจกรรมเสริมประสบการณ์
ขั้นนำ เริ่มโดยคุณครูและเด็กๆร่วมกันร้องเพลง ยานพาหนะ และถามเด็กๆเกี่ยวกับชนิดของยานพาหนะในเพลง นอกจากนั้นคุณครูถามยานพาหนะที่เด็กๆรู้จักนอกเหนือจากในเพลง
ขั้นสอน   ให้เด็กแยกประเภทของยานพาหนะ โดยให้เด็กแยกประเภทยานพาหนะทางบก ทางน้ำและทางอากาศ หลังจากแยกประเภทเสร็จ คุณครูให้เด็กๆนับประเภทของยานพาหนะแต่ละประเภทจากนั้นให้เด็กออกมาหยิบตัวเลขมากำกับประเภทของยานพาหนะ และคุณครูให้เด็กๆนับประเภทของยานพหนะแล้วให้เด็กๆออกมาติดตัวเลขกำกับยานพาหนะ หลังจากนั้นให้เด็กแยกประเภทของยานพาหนะแต่ละประเภท

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-การลับดับการวางวางเรียงให้ถูก คุณครูต้องให้เด็กเริ่มนับๆนับจากซ้ายมือของเด็กไปขวามือ
ขณะที่คุณครูนำยานพาหนะออกมาคุณครูถามเด็กๆด้วยว่ายานพาหนะที่คุณครูเอาออกมาคืออะไร  ถ้าเด็กตอบไม่ได้คุณครูต้องให้เด็กพูดตามคุณครู หลังจากนั้นให้เด็กๆนับไปพร้อมๆกัน
-สือกล่องที่นำมาวางต้องทำให้เด็กมองเห็นได้ชัดเจน
-ในขั้นตอนของการแยกจัดหมวดหมู่ไม่จำเป็นต้องนับจำนวนอีกครั้ง เพราะจะทำให้ซ้ำซาก
-หลังจากที่นับเสร็จแล้วคุณครูถามเด็กว่า เราจะมาดูกันว่ายานพาหนะชนิดไหนที่มีจำนวนมากที่สุด เหตุผลที่ต้องใช้คำว่ามากที่สุดเพราะมีจำนวนของชนิดยานพหนะมากกว่าสอง แต่ถ้าชนิดของยานพาหนะมีเพียงแค่2ชนิดให้เปรียบเทียบใช้คำว่า มากกว่า ไม่ต้องมีคำว่าที่สุดเพราะเปรียบเทียบเพียงแค่ 2อย่าง
-เลือกใช้คำว่า น้อยที่สุด เพราะทางน้ำน้อยที่สุดหมดก่อน แสดงว่าต้องใช้เกณฑ์น้อยที่สุด วิธีการเลือกเกณฑ์ใช้การจับ 1:1 ในการนับเพื่อพิสูจน์ว่าชนิดไหนมากที่สุดหรือน้อยที่สุด
-การเปรียบเทียบชนิดทั้ง 3 อย่างสามารถนำมาสอนเด็กได้เหมาะที่สุดคือชั้นอนุบาล3หรืออนุบาล2ตอนปลาย

คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
มากกว่า ใช้เมื่อ เปรียบเทียบเพียงแค่ 2 อย่าง
มากที่สุด ใช้เมื่อ เปรียบเทียบชนิดที่มีมากกว่า 2 อย่างขึ้นไปเช่นเปรียบ3อย่าง
วิธีการพิสูจน์ว่าอันไหนมากกว่าน้อยกว่าใช้วิธีการจับคู่ 1:1
ถ้าอันไหนเหลือแสดงว่าอันนั้นมาก ให้ใช้คำว่า มากที่สุด แต่ถ้าอันไหนหมดก่อน ให้ใช้คำว่า น้อยที่สุด




Group5 หน่วยกล้วย
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะหน่วยกล้วย


กิจกรรมสัมพันธ์กับเนื้อหา ให้เด็กๆเคลื่อนไหวตามข้อตกลงของคุณครูโดยคุณครูพูดว่า
               เปลือกกล้วย ให้เด็กๆกระโดด 3 ครั้ง
               เนื้อกล้วย  ให้เด็กๆปรบมือ 3 ครั้ง
               เมล็ดกล้วย นั่งลง
              
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
- การเคาะจังหวะไม่ชัดเจน ฝึกการเคาะจังหวะโดยเฉพาะจังหวะหยุดให้ถูกต้อง
- ในกิจกรรมสัมพันธ์กับเนื้อหาคุณครูต้องนำการเคลื่อนไหวในกิจกรรมพื้นฐานมาแทรกให้เด็กๆเคลื่อนไหวเป็นวิธีการหลอกล่อเด็กคิดเคลื่อนไหวนอกเหนือจากการที่เด็กๆต้องฟังคำสั่งว่าจะต้องเคลื่อนไหวแบบไหนตามคำพูดของคุณครู การนำการเคลื่อนไหวพื้นฐานมาแทรกจะทำให้กิจกรรมที่จัดไม่น่าเบื่อจนเกินไป


                                               กิจกรรมเสริมประสบการณ์หน่วยกล้วย

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
   -จังหวะการร้องเพลง ต้องร้องให้เป็นจังหวะ
   -สีที่นำมาใช้ในแผ่นชาร์ทไม่ควรเลือกใช้สีสะท้อนแสงเพราะจะทำให้เด็กสายตาเสียได้
   -ควรมีการติดชื่อของกล้วยและชนิดของกล้วย
   -ควรมีการทำตัวเลขมากกำกับไว้
   -การเขียน mind map ต้องมีการวางแผนการเขียนเพื่อที่จะเขียนแตกออกไปจากเรื่องที่สอนในแต่ละวันได้
   -สรรพนามที่ใช้เรียกกล้วยต้องเลือกใช้ให้เหมือนกัน สมมติถ้าจะใช้ หวี ให้ใช้หวี ตลอด ไม่ควรมีคำว่าลูกหรือผล


Group6 หน่วยเห็ด
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะหน่วยเห็ด

กิจกรรมเคลื่อนไหวฝึกการเป็นผู้นำผู้ตาม

  กิจกรรมพื้นฐาน  ให้เด็กๆหาพื้นที่ให้กับตนเอง จากนั้นให้เด็กๆเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่อย่างอิสระโดยให้ฟังจังหวะและสัญญาณที่ครูเคาะดังนี้-เคาะรัวๆ ให้เด็กๆเคลื่อนไหวเร็วๆ
-เคาะช้า ให้เด็กๆเคลื่อนไหวช้าๆ-เคาะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็กๆหยุดเคลื่อนไหว  จากนั้นคุณครูสั่งให้เด็กควบม้า เมื่อได้ยินสัญญาณหยุดครูจะบอกให้เด็กเปลี่ยนทิศทาง

กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา            

                                                                                                

  1.คุณครูให้เด็กๆยืนเป็นรูปตัวยูจากนั้นคุณครูและเด็กๆรวมกันร้องเพลง ส่วนประกอบขอเห็ด                                

             เห็ดมีหมวกอยุ่บนหัว   

          ตรงลำตัวเข้าเรียกว่าก้าน 

           ด้านใต้หมวกนั้นมันคือครีบ

           มีทั้งต้นหลีบและต้นอ้วน 

           ทั้งหมดนั้นล้วนคือเห็ดเอย

                                    

 2.คุณครูและเด็กๆร่วมกันร้องเพลงและเต้นเพลงส่วนประกอบของเห็ด

 3.คุณครูให้ตัวแทนเด็กคนที่1 ออกมาเต้นนำเพื่อนและให้เพื่อนเต้นตาม

 4.หลังจากที่เต้นเสร็จให้ตัวแทนคนที่1 เลือกเพื่อนคนที่2ออกมาเต้นนำเพื่อนๆ ให้เด็กๆวนออกมาเต้นเป็นผู้นำจนครบทุกคน                                                          

กิจกรรมพักคลายกล้ามเนื้อ -ให้เด็กๆนั่งลงในท่าที่สบายแล้วนวดส่วนต่างๆของร่างกายให้ตัวเองจากนั้นพลัดกันนวดให้เพื่อนด้วย

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-ขณะที่เพื่อนออกมาเป็นผู้นำ เพื่อนๆที่เต้นต้องเต้มตามด้วย เพื่อนไม่ควรเคาะจังหวะอย่างเดียว
การสอนที่ดี ครูต้องมีการคิดนอกกรอบ มีการคิดสิ่งที่แปลกใหม่ มีการนำข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากอาจารย์นำมาปรับใช้เช่น การเปลี่ยนทิศทาง การเคลื่อนไหวแบบอื่นๆเช่นการควบม้า



กิจกรรมเสริมประสบการณ์หน่วยเห็ด

สอนเสริมประสบการณ์หน่าวยเห็ดเรื่องประเภทของเห็ด
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-แผ่นสำหรับนำมาวางปักเห็ดแต่ละชนิดเล็กและสั้นเกินไปทำให้การปักชนิดของเห็ดเรียงตามจำนวนวางเรียงไม่ได้ ควรมีขนาดใหญ่มากกว่านี้
-กล่องที่นำมาใส่เห็ด เด็กจะไม่ได้คาดคะเน ถ้าคุณครูไม่มีการทายถามเด็กๆว่าสิ่งที่ครูนำมามีเห็ดจำนวนทั้งหมดกี่ดอก
-เมื่อนำเห็ดออกมาครูถามเด็กๆทุกครั้งว่าเห็ดชนิดอะไรแล้วค่อยปักลง
-นำเห็ดออกมานำมาวางรวบรวมเรียงกันก่อนแล้วค่อยแยกประเภทของเห็ด
-การนำเห็ดออกมาปักเรียงกันต้องปักเรียงลำดับจากซ้ายไปขวาโดยเรียงให้ชัดเจนเป็นระเบียบเรียบร้อย การวางที่เป็นระเบียบเพื่อให้ง่ายต่อการนับ




Things that need to be developed

- การจะเป็นครูไม่ควรอายในสิ่งที่สอน ควรมีความมั่นใจในแผนการสอนของตนเอง
- นำคำแนะนำจากกลุ่มตนเองและกลุ่มเพื่อนๆในชั้นเรียนนำมาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของตนเองให้ดียิ่งขึ้น  เมื่อนักศึกษาไม่ทราบแนวการสอนไม่ควรอยู่นิ่งควรมาหาอาจารย์เพื่อที่อาจารย์จะได้ให้คำแนะนำในการปรับแผนการสอนให้ดียิ่งขึ้น
-ต้องรู้จักวิธีการออกแบบการสอนและปรับเปรียบเทคนิคการสอนที่หลากหลายนำมาใช้การจัดจัดการสอนเพื่อให้เด็กไม่รู้สึกเบื่อ



ประเมินผล (Evaluation)

 Self-Evaluation

วันนี้ฉันได้ทดลองสอนในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะฉันรู้สึกตื่นเต้นเล็กน้อยแต่ก็มีความมั่นใจในการสอนอย่างมาก รู้สึกภูมิใจที่สามารถทำการสอนได้ไม่ติดขัดมากเท่าไหร่อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากเพื่อนซึ่งฉันก็นำมาเพิ่มเติมในการสอนของตนเอง ในการทดลองสอนมีหลายสิ่งที่ฉันได้รับรู้ข้อผิดพลาดจากเพื่อนในกลุ่มนรวมถึงฉันทำให้ฉันต้องกลับไปปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นจากการเรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้


 Friends-Evaluation
เพื่อนบางกลุ่มยังสอนได้ไม่ถูกต้องทำให้ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นทุกคนมีส่วนร่วมในการช่วยเพื่อนสอนเพื่อนมีน้ำใจและไม่หวงความรู้ทำให้การสอนของแต่ละกลุ่มดีขึ้นเล็กน้อยจากอาทิตย์ก่อน เพื่อนๆมีความพยามในการสอนมากขึ้น


Teacher-Evaluation

อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาในห้องมีส่วนร่วมในการช่วยเพื่อนสอน ช่วยกันคิดแก้ไขปรับปรุงการสอนร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ไข ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีทำให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดและฝึกการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กลุ่มไหนไม่ได้อาจารย์จะไปไม่ปล่อยให้เรียนรู้หรือสอนแบบผิดๆอาจารย์จะเพิ่มเติมให้ความรู้อย่าละเอียด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น