welcome to my blog E-Portfolio Subject to the Learning Experiences Management in Early Childhood Education ^_^

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

The Eighth Blog

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ


The Eighth Blog
 February,29  2016
 14.30 PM - 17.30 PM
Teaching time  14.30 PM.  Attend class at  17.30 PM.  Finish class at 17.30 PM.


What I have learned today
กิจกรรมในวันนี้ แต่ละกลุ่มได้เตรียมแผนการสอนของแต่ละหน่วยมาสอน
ในวันนี้สอนเนื้อหาของวันอังคารกิจกรรมที่จะสอนคือกิจกรรมเสริมประสบการณ์ 

              Group1 สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย ยานพาหนะ
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมและสิ่งที่ต้องกลับไปปรับปรุงแก้ไข
    - สื่อที่เตรียมมาใช้สอนน้อยเกินไป ไม่มีการเตรียมสื่อมาใช้ในการสอน 
    - ไม่มีการเตรียมชาร์ทการสอนมา ควรมีการทำชาร์ทตารางลักษณะของยานพาหนะและแผนภูมิวงกลมเปรียบเทียบลักษณะความเหมือนต่างของยานพาหนะ
    - ในขั้นนำการเลือกใช้เพลงเพลงที่ใช้ควรสัมพันธ์กับเนื้อหาที่สอนในวันนั้นๆ
    - ครูถามเด็กๆเกี่ยวกับชนิดของยานพาหนะในเพลงที่สอน พอถามเสร็จครูถามเด็กๆเกี่ยวกับยาพาหนะที่เด็กรู้จักนอกเเหนือจากเพลงที่คุณครูพาร้อง ขณะที่เด็กๆบอก ครูต้องต้องจดชื่อยานพาหนะลงบนกระดานด้วย เป็นการถามประสบการณ์เดิมของเด็กๆเกี่ยวกับยานพาหนะ
    -การเขียนแผนเพิ่มเติมเรื่องการใช่graphic
     - ควรทำชาร์ทมาเพื่อวิเคราะห์ลักษณะส่วนประกอบของยานพาหนะ
  

                                Group2 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย ผีเสื้อ
   
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
    -ในขั้นนำ ไม่ควรสอนเนื้อหาเดิมที่สอนในวันจันทร์มากเกินไป เนื่องจากวันอังคารจะเน้นสอนในเนื้อหาเรื่องลักษณะของผีเสื้อ
    - เลือกใช้เพลงและคำคล้องจองที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอนในแต่ละวัน
    - ในการเขียนแผนเพิ่มเติมเขียนgraphicตารางลักษณะและตารางเปรียบเทียบลงไปด้วย
        - แผ่นส่วนประกอบของผีเสื้ออาจมีการใช้การวาดภาพหรือมีภาพส่วนประกอบของเห็ดแล้วถามเด็กๆว่าส่วนประกอบของผีเสื้อมีอะไรบ้าง แล้วค่อยทำบัตรคำมาติดทีละส่วนประกอบตามที่เด็กบอก Mind mapที่สอนอาจมีการนำรูปภาพส่วนประกอบของผีเสื้อมาติดด้วยเพื่อให้เด็กมองภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
        - แผ่นที่ใช้ในการเขียน Mind map เรื่องหนึ่งทั้ง5วันควรมี mind mapเดียว เขียนแตกออกไปทีละวันวันละหัวข้อเรื่องที่จะสอน เมื่อสอนครบทั้ง 5 วัน Mind Map จะออกมาสมบูรณ์ เด็กจะมองเห็นเป็นภาพรวมเข้าใจความสัมพันธ์ของเรื่องที่สอน
        - สื่อที่คุณครูนำมาใช้สอนควรมีการใส่ในภาชนะ เช่น จาน หรือ ตะกร้าให้เรียบร้อย


                           Group3 ฉันได้ออกมาสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วยเห็ด



กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ คุณครูและเด็กๆร่วมกันร้องเพลงส่วนประกอบของเห็ด หลังจากที่ร้องเพลงเสร็จคุณครูถามเด็กๆเกี่ยวกับเนื้อหาในเพลงว่าเห็ดมีส่วนประกอบอะไรบ้าง
เพลงส่วนประกอบของเห็ด


ขั้นสอน
1.คุณครูอธิบายส่วนประกอบของเห็ดตามแผ่นชาร์ท รูปส่วนประกอบของเห็ด

2.คุณครูนำเห็ด 2 ชนิด มาให้เด็กๆดู โดยคุณครูนำเห็ดเข็มทองและเห็ดหอมใส่ในตะกร้า มาให้เด็กๆได้สังเกต สัมผัส ดมกลิ่น และถามเด็กๆเกี่ยวกับลักษณะของเห็ดว่ามีสี รูปร่าง  ขนาด ผิวสัมผัส และกลิ่น อะไร
3.คุณครูถามเด็กๆเกี่ยวกับลักษณะของเห็ดทั้ง 2 ชนิดพร้อมกับเขียนลงบนแผนชาร์ทตารางลักษณะของเห็ด

   ครูควรลำดับขั้นตอนในการสอนโดยครูต้องถามคำถามจากสิ่งที่เด็กมองเห็นได้ก่อน เช่น สี รูปทรง ขนาด เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตาไม่ได้ใช้การสัมผัส ถัดมาค่อยถามเด็กๆเกี่ยวกับผิวและกลิ่นว่ามีกลิ่นลักษณะอย่างไร การถามคุณครูจะส่งเห็ดให้เด็กสัมผัสจนครบ แล้วถามเด็กๆเพื่อจะนำไปเขียนในแผ่นชาร์ท

4.เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของเห็ดเข็มทองและเห็ดหอม
ถามเด็กๆในสิ่งที่เหมือนกันของเห็ดทั้ง 2 ชนิดก่อนแล้วค่อยถามในสิ่งที่ต่างกัน

ขั้นสรุป
   คุณครูและเด็กๆร่วมกันบอกสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันของเห็ดเข็มทองและเห็ดหอม หลังจากนั้นคุณครูและเด็กๆร่วมกันร้องเพลง "ส่วนประกอบของเห็ด" ไปพร้อมๆกันอีกครั้ง

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
·        - ลำดับขั้นตอนในการสอน คุณครูนำเห็ดชนิดไหนมาสอนก่อน ในแผ่นแยกลักษณะของเห็ดให้เรียงตามชนิดของเห็ดที่สอนก่อน ขณะที่ถามเด็กและเด็กตอบก็เขียนลงไปในแผ่นแยกลักษณะตามลำดับ
·        - ในการเขียนชาร์ทนอกจากเขียนแล้วอาจมีการวาดรูปเพิ่มเติม และมีการระบายสี การระบายสีให้ขีดฝนสีไม่ควรระบายเป็นวงกลม
         -  เพลงที่ใช้สอนลักษณะของเห็ดเนื้อหาของเพลงไม่ควรบอกถึงลักษณะของเห็ดที่ละเอียดหรือยากเกินกว่าตาของเด็กมองเห็น ควรบอกสิ่งที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ
         
·  
                                         Group4 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วยผัก


ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากอาจารย์
ควรมีการนำสื่อของจริงมาสอนเช่น นำผักจริงๆมาใช้สอนถ้าสามารถนำมาได้ ถ้าไม่สามารถนำมาได้อาจใช้การแก้ปัญหาโดยการวาดภาพผักหรือปริ้นรูปผักที่มีขนาดไม่เล็กจนเกินไป เสร็จแล้วนำมาตัดให้มีลักษณะของผัก
สื่อที่ใช้ในการสอนไม่ครบ ต้องมีการเตรียมแผ่นชาร์ทส่วนประกอบของผักมาสอน



                           Group5 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วยกล้วย


ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
การเขียนชาร์ทเพลงควรเพิ่มเติมใส่รูปภาพลงไป เช่นคำไหนที่สามารถใส่รูปภาพแทนการเขียนได้เช่นกล้วย ให้ใส่รูปกล้วย
การสอนเพลง ต้องมีการบอกให้เด็กๆพูดตามคุณครูทีละวรรคก่อนแล้วค่อยร้องเพลงพร้อมกันกับครู
จัดลำดับการสอน สี ขนาด รูปร่าง  สัมผัสพื้นผิว ส่วนประกอบ จากนั้นค่อยดมกลิ่น และให้เด็กๆปลอกเปลือกชิมรสชาดของกล้วย เมื่อถามเสร็จคุณครูค่อยบันทึกลงในแผ่นชาร์ท
แผ่นชาร์ท
คำว่ากล้วยต้องเขียนสีแตกต่างจากคำอื่นเช่นถ้าเขียนสีแดงต้องเขียนสีแดงตลอดเพราะเราสอนเด็กๆเรื่องกล้วยเราต้องการให้เด็กรู้จักกล้วยเด็กจะได้รู้จักคำศัพท์คำว่ากล้วย


Things that need to be developed
-สื่อการสอนเป็นสิ่งจำเป็น ในการสอนทุกครั้งต้องมีการเตรียมสื่อมาใช้ในการสอน
- ครูมีการใช้เทคนิดที่กระตุ้นให้เด็กตอบคุณครูในขั้นสอนเช่น มีการใช้ผ้า หรือกล่องมาคลุมสิ่งที่จะนำมาสอนเด็กๆในวันนี้ เป็นการให้เด็กทายว่าคุณครูเตรียมอะไรมา
-การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ตรงประสบการณ์สำคัญต้องสอดคล้องกับสิ่งที่เราจะสอน
-ในแต่ละหน่วยการสอนต้องมีสื่อที่ได้จากหน่วยการสอนนั้น
-ข้อดีของการเขียนตารางวิเคราะห์ทำให้เด็กเข้าใจได้ง่ายกว่าการไม่เขียนเพราะเด็กจะได้มองเห็นความแตกต่าง ความเหมือน


ประเมินผล (Evaluation)

 Self-Evaluation

    มีการเตรียมการสอนมาอย่างดี รู้สึกตื่นเต้นเล็กน้อย ในการสอนครั้งนี้ฉันมีความมั่นใจในการสอนเป็นอย่างมากถึงแม้จะกลัวว่าการสอนครั้งนี้จะไม่ถูกต้องตามที่อาจารย์ต้องการ ขณะที่สอนฉันสอนไม่ถูกต้องบ้างก็ยอมรับฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์โดยไม่มีการโต้แย้งใดๆเพื่อที่จะนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงการสอนของตนเองให้ดียิ่งขึ้นในครั้งต่อๆไป 

 Friends-Evaluation
     เพื่อนให้ความร่วมมือในการออกมาเป็นนักเรียนเป็นอย่างดี กลุ่มไหนที่สอนไม่ดีก็ช่วยกันแก้ไข บอกสิ่งที่ต้องปรับปรุงให้เพื่อนกลับไปแก้ไขปรับรุงการสอนของกลุ่มตนเอง ในการสอนวันนี้หลายกลุ่มยังทำการสอนได้ไม่ดีอาจเนื่องมาจากเพื่อนไม่เคยเรียนกับอาจารย์ในบางวิชาทำให้ไม่รู้เทคนิควิธีการสอนที่ถูกต้อง แต่อยากให้เพื่อนถามอาจารย์ในสิ่งที่ไม่เข้าใจเพื่อบอกให้อาจารย์ทราบอาจารย์จะได้เตรียมวางแผนการสอนให้เหมาะสม

Teacher-Evaluation

    อาจารย์คาดหวังที่จะให้นักศึกษาสามารถที่จะสอนได้อย่างถูกต้องทำให้มีบางช่วงที่อาจารย์ดูเครียดๆ อาจารย์ให้คำแนะนำในการสอนได้อย่างละเอียดเป็นลำดับขั้นตอน ขณะที่นักศึกษาสอนอยู่ในช่วงไหนที่สอนได้ไม่ถูกต้องอาจารย์จะพูดแนะนำขึ้นมาทันทีเพื่อที่จะให้นักศึกษาแก้ไขการสอนให้ถูกต้อง ณ เวลานั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากเพราะจะได้สามารถแก้ไขได้ทันทีและเพื่อนที่ไม่ได้สอนทั่นั่งฟังอยู่ก็ได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกันและสามารถช่วยกันแก้ไขเวลานั้นทันที


                                                     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น