welcome to my blog E-Portfolio Subject to the Learning Experiences Management in Early Childhood Education ^_^

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

The eleventh Blog

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ


The eleventh Blog
 March,28  2016
 14.30 PM - 17.30 PM
Teaching time  14.30 PM.  Attend class at  17.30 PM.  Finish class at 17.30 PM.


 What I have learned today 
นักศึกษาทดลองสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของวันพุธและกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะของวันศุกร์ รวมถึงการทดลองสอบของกลุ่มที่สอนไม่ผ่านอีกครั้ง


                                กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะวันศุกร์หน่วยเห็ด
กิจกรรมพื้นฐาน
   1.เด็กๆหาบริเวณและพื้นที่ให้ตัวเอง
   2.เด็กๆเคลื่อนไหวโดยการกระโดดตามจังหวะที่คุณครูเคาะนะค่ะ  เด็กๆเปลี่ยนทิศทางค่ะ
กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา
   3.คุณครูจะให้เด็กๆเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลง “เห็ดแสนอร่อย” เด็กร้องเพลงพร้อมกัน 1 รอบนะค่ะ
   4.เด็กๆจับกลุ่ม 5 คน 3 กลุ่ม นะค่ะ โดยคุณครูกำหนดให้เด็กกลุ่มที่ 1 ร้องเพลง กลุ่มที่ 2 ทำท่าทาง กลุ่มที่ 3 เคาะจังหวะโดยคุณครูมีเครื่องเคาะจังหวะให้
   5.จะสลับปรับเปลี่ยนกันร้องเพลง ทำท่าทาง และเคาะจังหวะจนครบทุกกลุ่ม
กิจกรรมพักคลายกล้ามเนื้อ
      6.เด็กๆนั่งลงกับพื้นค่ะ ยื่นขาออกมาเอามือนวดขาเบา ๆเอามือนวดแขนเบาๆ


ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-ในกิจกรรมพื้นฐานครูไม่ควรให้เด็กเคลื่อนไหวหลายอย่างมากเกินไป เช่น ถ้าครูให้เด็กกระโดดแล้วไม่จำเป็นต้องให้เด็กเดินด้วยปลายเท้าอีก
-กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบเพลงครูอาจใช้วิธีการจับกลุ่มหลายๆวิธีนอกเหนือจากการให้เด็กนับตัวเลขโดยการจับกลุ่มแล้ว ครูอาจใช้วิธีการจับกลุ่มโดยการใช้สัญลักษณ์ การใช้รูปภาพเรขาคณิต หรือใช้คณิตศาสตร์สอดแทรกในการจับกลุ่ม เช่น ให้นับนก 2 ตัวรวมกันมีทั้งหมดกี่ขา 

                                        กิจกรรมเสริมประสบการณ์วันพุธหน่วยเห็ด

ขั้นนำ
1.ครูให้เด็กดูVDOการเพาะเห็ดนางฟ้า แล้วสนทนากับเด็กเกี่ยวกับเนื้อหาในVDO
ขั้นสอน
2.ครูนำแผ่นชาร์ทขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้าให้เด็กดู โดยครูจะเปิดแผ่นชาร์ททีละขั้นตอน จากนั้นครูสาธิตการเพาะเห็ดนางฟ้าทีละขั้นตอน
 1)เตรียมโรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดนางฟ้า โดยโรงเรือนต้องมีความชื้น
 2)เตรียมส่วนผสมในการทำก้อนเชื้อ มีขี้เลื่อย รำอ่อน ยิปซั่ม ดีเกลือ ปูนขาวและน้ำ
 3)ผสมส่วนผสมกันจนเป็นก้อนเชื้อ
 4)นำก้อนเชื้อไปวางเรียงเป็นแนวนอนที่โรงเรือน แล้วรดน้ำปรอยๆวันละ 3 ครั้ง
3.ครูนำก้อนเชื้อแจกเด็ก 2 คน : 1ก้อน จากนั้นครูบอกขั้นตอนการหยอดหัวเชื้อให้กับเด็ก แล้วให้เด็กทำพร้อมๆกัน
4.ครูให้เด็กนำก้อนเชื้อไปไว้ที่โรงเรือน แล้วรดน้ำปรอยๆ
5.หลังเสร็จกิจกรรมให้เด็กไปล้างมือ แล้วกลับมานั่งที่เดิม
ขั้นสรุป
6.ครูทบทวนขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้า

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-ตรงสาระที่ควรเรียนรู้ ควรมีการเขียนอธิบายขั้นตอนการเพาะเห็ดแบบสั้นๆลงไปในแผนการจัดประสบการณ์ 
-ครูสามารถสอนให้เด็กทำโรงเรือนด้วยตนเองในแบบอื่นๆเช่นการใช้ท่อ PVC นำมาใช้สร้างโรงเรืองเพาะเห็ดได้
-ครูผู้สอนควรมีการใส่ถุงมือหรือใช้ช้อนตักก้อนเชื้อหรือให้เด็กตักใส่ถ้วยของเด็กแต่ละคนแล้วใส่ก้อนเชื้อไปพร้อมๆกันไม่ควรใช้มือเปล่าเพราะเชื้อโรคอาจเข้ามือได้ ครูไม่ควรมองข้าม ขณะเดียวกันก็ต้องสอนให้เด็กรู้จักรักษาความสะอาดด้วย
-ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการเพาะเห็ดเช่นอาจให้เด็กออกมาช่วยตักส่วนผสมใส่ลงในถุงก้อนเชื้อ
-แผ่นชาร์ทขั้นตอนการเพาะเห็ด ครูอาจวาดรูปในแต่ละขั้นตอนลงไปด้วยเพื่อให้ดูน่าสนใจเด็กมองเป็นภาพ
กิจกรรมเพาะเห็ดสามารถนำไปเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิด STEM ได้ทุกเรื่อง S=SCIENCE เด็กได้เรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลง 
T=Technology การนำเสนอ
E=Engineering การวางแผน การออกแบบโครงสร้าง
M=Mathematics การคำนวณโครงสร้าง ปริมาณต่างๆ ระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงของเห็ด สัดส่วนในการผสม

                                                กิจกรรมเสริมประสบการณ์วันพุธหน่วยผัก

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-ในการสอนควรสอนให้มีประเภทของผักให้ครบทุกชนิดตามที่ได้เขียนไว้ในแผนการจัดประสบการณ์
-เรื่องที่สอนควรมีการใส่หัวข้อของพืชที่สามารถกินดอกลงไปในการสอนด้วย

                                    กิจกรรมเสริมประสบการณ์วันพฤหัสบดีหน่วยผัก

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
- คุณครูเล่านิทานหนูหน่อยปวดท้องเพราะไม่กินผัก ค่อนข้างไม่เป็นเหตุเป็นผล ไม่มีที่มาที่ไปครูควรเล่าให้เห็นถึงที่มาที่ไปก่อน เช่น หนูหน่อยท้องผูกเนื่องจากไม่มีกากอาหารไม่ใช่ว่าไม่กินผักทำให้ท้องผูก
-ครูต้องมีการถามเด็กเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของผักนอกเหนือจากประโยชน์ที่เด็กๆได้รู้จักจากนิทาน เช่น ผักมีประโยชน์ช่วยทำให้เกิดอาชีพ คนขายกับข้าว เกิดโรงงานผัก ชาวสวน เป็นต้น
-สื่อที่นำมาประกอบการเล่านิทาน ส่วนใหญ่แล้วครูจะนำมาเสียบไม้แล้วนำมาเล่าประกอบนิทานมากกว่าการใช้ถุงมือเล่าประกอบนิทาน


                 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะวันศุกร์หน่วยยานพาหนะ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
   ในกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน คุณครูให้เด็ก การก้าวขาชิดก้าวชิด ไม่ใช่การสคริปต์ แต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นการ ก้าวชิดก้าวแทน

                       กิจกรรมเสริมประสบการณ์วันพุธหน่วยยานพาหนะ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
 - เรื่องที่สอนหัวข้อการจัดประเภทของยานพาหนะเป็นเรื่องเดิมหัวข้อเดิมให้เปลี่ยนเป็น หัวข้อ การจัดประเภทการใช้พลังงานของยานพาหนะชนิดต่างๆ
 - ครูควรสอนให้ตรงตามสาระการเรียนรู้ที่เขียนไว้ในแผนการสอน
 - เนื้อหาที่สอนในวันนี้คุณครูควรเน้นไปที่การสอนในเรื่องของการใช้พลังงานในยานพาหนะประเภทต่างๆ มากกว่าการดูแลรักษายานพาหนะ
 - ถ้าคุณครูจะสอในเนื้อหาของการดูแลรักษายานพาหนะ ครูต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนในการสอนให้ถูกต้อง ต้องมีการบอกเนื้อหาในการดูแลรักษายานพาหนะ เช่น การล้างรถ การเช็ดรถ 

                             กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะวันศุกร์หน่วยกล้วย

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
    ในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เนื้อหาที่นำมาสอนจัดกิจกรรมให้กับเด็กต้องสอดคล้องกับสาระที่ควรเรียนรู้ การสอนต้องสอนให้ตรงตามแผนที่เขียนไว้

                                     กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะวันศุกร์หน่วยผีเสื้อ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
    ในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อให้เด้กได้เรียนรู้โทษของผีเสื้อ ครูอาจจะต้องมีการบอกเด้กว่าหนอนผีเสื้อสามารถกัดใบไม้ทำให้ใบไมเสียหาย แต่ก็ไม่ถึงกับทำลายธรรมชาติแต่อาจทำให้ผักเสียหายและทำให้ผักที่นำไปขายมีราคาลดลงได้

                                        กิจกรรมเสริมประสบการณ์วันพุธหน่วยผีเสื้อ
สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องวงจรชีวิตของผีเสื้อ
ขั้นนำ
     คุณครูและเด็กท่องคำคล้องจองผีเสื้อ  เมื่อท่องคำคล้องจองเสร็จ  คุณครูใช้คำถามว่า  คำคล้องจองที่เด็กๆ ท่อง เขาพูดถึงการเจริญเติบโตของผีเสื้ออะไรบ้าง”  คุณครูจดบันทึกตามคำพูดที่เด็กบอก
ขั้นสอน
คุณครูนำภาพไข่ผีเสื้อที่มีกระดาษปิดอยู่  ครูถามเด็กๆว่า  เด็กๆทายซิครับ ว่า ภายใต้กระดาษแผ่นคืออะไร
- ไหนใครคนเก่งมาหยิบภาพไข่ผีเสื้อไปติดที่แผ่นชาร์ต
 - ไหนใครคนเก่งมาหยิบ  ตัวเลขฮินดูอารบิกมาติดแทนค่า
     ครูถามถามเด็กว่า เราพบไข่ผีเสื้อได้ที่ไหนบ้างครับ
ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อเวบาผ่านไป 5 วัน  เด็กๆทายสิครับว่าจากไข่ผีเสื้อจะกลายเป็นอะไร
- ไหนคนเก่งของครู 1 คนออกมาหยิบภาพผีเสื้อไปติดที่แผ่นชาร์ต
     ครูถามเด็กๆว่า เด็กๆคิดว่าหนอนกินอะไรเป็นอาหาร
หนอนอาศัยอยู่ที่ไหนเมื่อเวลาผ่านไป 20 วัน  เด็กๆทายซิครับว่าจากตัวหนอนจะกลายเป็นอะไรครับ
- ไหนคนเก่งของครู 1 คน ออกมาเหยิบภาพดักแด้ไปติดที่แผ่นชาร์ตให้ครูชิครับ
- ไหนคนเก่งของครูมาหยิบเลขฮินดูอารบิกมาติดแทนค่าสิครับ
ครูถามเด็กๆว่า  ดักแด้อาศัยอยู่ที่ไหน
คุณครูอธิบายเพิ่มเติม  ดักแด้จะไม่เคลื่อนไหว  ไม่กินอาหาร  เมื่อเวลาผ่านไป 10 วัน  “เด็กๆทายซิครับว่าจากดักแด้จะกลายเป็นอะไร
- ไหนคนเก่งของครู 1 คนออกมาหยิบภาพผีเสื้อติดที่แผ่นชาร์ต
- ไหนคนเก่งของครู  ออกมาหยิบเลขฮินดูอารบิกแทนค่า
     ครูถามเด็กๆว่า ผีเสื้อกินอะไรเป็นยารักษาโรค”         
ผีเสื้อป่วยจะกินอะไรเป็นอาหาร
ครูอธิบาย  เมื่อเวลาผ่านไป 14 วัน ผีเสื้อจะเจริญเติบโตเต็มวัยและวางไข่บนใบไม้
ขั้นสรุป
     ครูถามเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจองผีเสื้อและสรุป วงจรชีวิตของผีเสื้อเริ่มต้นจากอะไร


                                  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะหน่วยส้ม

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-การสอนไม่ตรงตามแผนที่เขียนไว้ 
-ในขั้นของกิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง ครูอาจมีการใช้เทคนิคโดยการใช้คำสั่งว่า ถ้าครูพูดคำไหยให้เด็กๆนับจำนวนพยางค์ของคำนั้นๆและทำท่าทางเคลื่อนไหวให้สัมพันธ์กับจำนวนพยางค์ที่ครูพูด เด็กจะได้ฝึกการคิดเรียนรู้เรื่องจำนวน เช่น ถ้าครูพูดคำว่าเยลลี่ส้ม มีทั้งหมด 3 พยางค์ ให้เด็กๆปรบมือทั้งหมด 3 ครั้ง  หรือจะพูดคำว่า ซาลาเปารสส้ม มีทั้งหมด 5 พยางค์ เด็กกระโดด 5 ครัั้ง หรือจะเป็นคำว่า แยมส้ม ให้เด็กก้าวขาไปข้างหน้า 2 ก้าว ก็ได้

                                           กิจกรรมเเคลื่อนไหวและจังหวะหน่วยส้ม
ก่อนที่จะให้เด็กได้เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตามครูควรมีการให้เด็กร้องเพลงเป็นการทบทวนเพลงที่เคยร้องกันก่อน 1 รอบ


Things that need to be developed
- ต้องมีการบูรณาการคณิตศาสตร์มาใช้ในกิจกรรมเคลื่อนไหวทำให้กิจกรรมที่จัดไม่น่าเบื่อ นอกจากนี้เด็กยังได้ฝึกการคิดอีกด้วย
-   นำเทคนิคการเคลื่อนไหวพื้นฐานให้เด็กได้เปลี่ยน ทิศทาง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ระดับ สูง ต่ำ มาปรับใช้เด็กจะได้ไม่รู้สึกเบื่อกับกิจกรรมที่คุณครูจัด
- สามารถนำการจัดการเรียนการสอนที่มีการบุรณาการการเรียนรุ้แบบ STEM มาปรับใช้ให้เด็กมีทักษะSCIENCE   Technology   Engineering  และ Mathematics เป็นการจัดกิจกรรมที่ปูพื้นฐานให้เด็กมีทักษะเหล่านี้ได้เป็นอย่างดีในอนาคต



ประเมินผล (Evaluation)

 Self-Evaluation

    ตั้งใจฟังเพื่อนสอนและตั้งใจฟังอาจารย์แนะนำข้อเสนอแนะในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวของแต่ละกลุ่ม รู้สึกตื่นเต้นแทนเพื่อนที่ออกไปสอนเล็กน้อย วันนี้ได้พยายามเรียนรู้ข้อผิดพลาดร่วมกันกับเพื่อน เพื่อนำกลับไปปรับปรุงการสอนของตนเอง 


 Friends-Evaluation
       ในวันนี้มีเพื่อนบางคนที่เสียใจเพราะรู้สึกเสียใจที่อาจจะสอนไม่ได้ตามที่อาจารย์ต้องการแต่สุดท้ายแล้วเพื่อนก็เข้าใจและพร้อมที่จะปรับปรุงตนเอง รู้สึกว่าเพื่อนทุกคนมีความตั้งใจในการสอนมากเเละเพื่อนทุกคนก็พร้อมที่จะแก้ไขสิ่งที่ยังขาดตกบกพร่องเพื่อให้การสอนดีขึ้นในอนาคต


Teacher-Evaluation

 อาจารย์มีความตั้งใจและมุ่งหวังจริงที่จะให้นักศึกษาต้องการสอนได้จริงๆ มีบางครั้งที่อาจารย์พูดเสียงดังอาจทำให้เพื่อนบางคนเสียใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้ก็มาจากความตั้งใจของอาจารย์ที่ต้องการให้นักศึกษาได้ อาจารย์ไม่ต้องการให้นักศึกษาเมื่อถึงเวลาฝึกสอนแล้วเด็กไม่ฟัง สอนไม่ได้ เพราะอาจารย์รักอาจารย์ถึงต้องกวดขันให้นักศึกษาทำให้ดีที่สุด