welcome to my blog E-Portfolio Subject to the Learning Experiences Management in Early Childhood Education ^_^

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

The Sixth Blog

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ


The Sixth Blog
 February,15  2016
 14.30 PM - 17.30 PM
Teaching time  14.30 PM.  Attend class at  17.30 PM.  Finish class at 17.30 PM.



What I have learned today

กิจกรรมในวันนี้ แต่ละกลุ่มได้เตรียมแผนการสอนของแต่ละหน่วยมาสอน
ในวันนี้สอนเนื้อหาของวันจันทร์กิจกรรมที่จะสอนคือกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ แต่ละกลุ่มได้ส่งตัวแทนที่สอนประจำวันจันทร์ออกมาสอน (ทุกกลุ่มจะต้องมีตัวแทนสอนประจำวันจันทร์ถึงวันศุกร์สมาชิกในกลุ่มทุกคนจะต้องมีหน้าที่สอนคนละ1วัน)

ก่อนการทำกิจกรรม อาจารย์ได้อธิบายขั้นตอนการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้นักศึกษาเข้าใจร่วมกันและอาจารย์ได้ทำการแสดงบทบาทสมมติการเป็นครูสอนเคลื่อนไหวให้นักศึกษาดูเป็นตัวอย่าง
                   

สรุปขั้นตอนการสอน
กิจกรรมพื้นฐาน การเคลื่อนไหว เช่น การเดินแบบธรรมดา เดินด้วยปลายเท้า ก้าว กระโดด สคริป ควบม้า หมุน นั่ง เป็นต้น โดยจะมีการนำจังหวะการเคาะเข้ามาให้เด็กได้เคลื่อนไหวเร็วช้าตามจังหวะการเคาะของครู

 ขั้นตอนการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 
เริ่มจากกิจกรรมพื้นฐาน
 1.ให้เด็กๆหาพื้นที่ให้ตัวเองจากนั้นให้เคลื่อนไหวอิสระไปทั่วบริเวณตามจังหวะการเคาะของคุณครู หลังจากที่ครูเคาะสัญญาณหยุดในแต่ละครั้งครูอาจจะบอกให้เด็กเปลี่ยนท่าเคลื่อนไหวเป็นแบบอื่นๆดูบ้าง โดยใช้คำสั่งว่า "เปลี่ยน"

 กิจกรรมสัมพันธ์กับเนื้อหา 
2.ให้เด็กๆเคลื่อนไหว ทำท่าตามข้อตกลงของคุณครู เช่น
 ถ้าสอนในหน่วยผัก ให้เด็กทำท่าตามชนิดของผักที่ตัวเองชอบ
 สอนในหน่วยพาหนะสร้างข้อตกลงให้เด็กเคลื่อนไหวไปตามมุมยานพาหนะแต่ละประเภท ตามคำสั่งของคุณครู เช่นให้เด็กๆเคลื่อนไหวไปที่ที่จอดรถกระบะ เคลื่อนไหวไปที่ที่จอดรถบรรทุก เป็นต้น
หรือ ถ้าเป็นการเคลื่อนไหวพร้อมกับอุปกรณ์ คุณครูอาจมีเชือกมาให้เด็กแล้วให้เด็กๆทำเชือกให้เป็นรูปผัก เป็นต้น หรือให้เด็กๆทำท่าตามคำบรรยายของครู

เพิ่มเติมสำหรับวันที่2 สอนเรื่องลักษณะ ส่วนประกอบ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่จัดอาจให้เด็กเคลื่อนไหวประกอบเพลง เคลื่อนไหวการออกมาเป็นนำผู้ตาม

เพิ่มเติม เทคนิคในการแบ่งกลุ่มเด็กขณะเคลื่อนไหว ขณะที่เด็กๆกำลังเคลื่อนไหวครูบอกให้เด็กจับกลุ่มเช่น คุณครูอยากให้เด็กๆจับกลุ่ม 5 คนอาจสร้างสถานการณ์มาว่าให้รถสามล้อชน1คันกับรถจักรยาน1 คัน
เทคนิควิธีการจับกลุ่มแบบบูรณาการคณิตศาสตร์ เช่น หน่วยยานพาหนะ ครูใช้เทคนิคบรรยายสร้างสถานการณ์ให้เด็กๆเป็นรถยนต์ธรรมดากับรถสิบล้อหรือรถจักรยานจนกับรถตุ๊กๆเมื่อรถสองคันขับมาชนกัน เด็กๆลองนับดูสิมีรถมาชนกันแล้วรวมกันมีทั้งหมดกี่ล้อ
  เทคนิคการจับกลุ่มโดยใช้เพลงเข้าช่วย เช่น ร้องเพลงลอยกระทง แล้วเด็กๆก็จะเดินเป็นวงกลม จากนั้นคุณครุก็ให้เด็กๆจับมือกัน โดยที่ครูไม่ต้องบอกตั้งแต่เริ่มว่าให้เด็กๆจับมือกัน


กลุ่มที่1 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วยยานพาหนะ
กิจกรรมพื้นฐาน
1.ให้เด็กๆหาพื้นที่ให้ตัวเอง จากนั้นให้เด็กๆเคลื่อนไหวอย่างอิสระไปทั่วบริเวณตามสัญญาณการเคาะของคุณครู
กิจกรรมสัมพันธ์กับเนื้อหา
2.ให้เด็กๆเคลื่อนไหวตามคำบรรยายของคุณครู โดย คุณครูจะบรรยายว่าเด็กๆกำลังขึ้นรถยนต์ขับรถยนต์ออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆขับด้วยความเร็ว ช้า จากนั้นเด็กๆก็ขึ้นไปปั่นจักรยาน ปั่นเร็ว ช้า.....

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
              ปรับปรุงในขั้นตอนแรกให้เด็กเคลื่อนไหวแบบปกติเพื่อจะได้เกิดการเปรียบเทียบระหว่างเร็วกับช้า
              ฝึกการเคาะจังหวะ ต้องเคาะให้เป็นจังหวะ ชัดเจน
              ฝึกการบริหารเวลาไม่ใช้เวลามากเกินไป เผื่อเวลาในการควบคุมเด็ก
              ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการสอนวันที่2 อาจจะให้เด็กๆเคลื่อนไหวประกอบเพลงลักษณะของยานพาหนะ


กลุ่มที่2 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วยผัก
กิจกรรมพื้นฐาน
  1.ร้องเพลงสองมือเราชูตรง ให้เด็กๆหาพื้นที่ให้ตัวเอง จากนั้นให้เด็กๆเคลื่อนไหวตามอิสระตามจังหวะการเคาะของคุณครู
กิจกรรมสัมพันธ์กับเนื้อหา
  2.ให้เด็กๆเคลื่อนไหวเป็นผักชนิดต่างๆกำลังเคลื่อนที่
เพิ่มเติม -ให้เด็กๆถือทำท่าถือผักแล้วเคลื่อนที่
               -ให้เด็กๆสมมติว่าตนเองเป็นคนขายผักแล้วเดินถือผักไปขายที่ตลาดแล้วเจอสถานการณ์ต่างๆ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-ฝึกการเคาะจังหวะไม่ควรเร็วหรือช้ามากเกินไปการเคาะในจังหวะปกติต้องมีความสม่ำเสมอ และในสัญญาณการเคาะหยุดต้องเคาะสองครั้งติดกัน
-ในขณะที่เคาะครูจังหวะให้เด็กให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกาย ขณะที่เคาะครูไม่ควรเดินเคลื่อนที่เร็วช้าเหมือนกับเด็ก ครูควรเคลื่อนที่ปกติ เพื่อให้เด็กได้ฝึกการเปรียบเทียบความแตกต่าง
-ในการสอนต้องทำตามแผนที่เขียนไว้เพื่อที่จะประเมินได้
-กิจกรรมที่สอนต้องคำนึงถึงหลักความเป็นจริง เช่น ให้ผักเคลื่อนที่แต่ในความเป็นจริงผักไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
หลังจากเคลื่อนไหวเสร็จแล้วครูอาจใช้คำถามถามเด็กๆว่าเด็กๆถือผักอะไรมา ให้เข้าแถวต่อคิว(ร้องเพลงเข้าแถว)แล้วค่อยๆเดินถือผักเอามาวางไว้ทีละคน ใช้คำถามถามเด็กเพื่อทดสอบว่าเด็กๆรู้จักผักชนิดอะไรบ้าง



กลุ่มที่3 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะหน่วยผีเสื้อ
กิจกรรมพื้นฐาน
  1.ให้เด็กๆหาพื้นที่ให้ตัวเอง จากนั้นให้เด็กๆเคลื่อนไหวตามจังหวะการเคาะของคุณครู เคาะปกติ เร็ว ช้า 
กิจกรรมสัมพันธ์กับเนื้อหา
  2.ครูกำหนดมุมต่างทั้ง4มุมให้เป็นผีเสื้อแต่ละชนิดให้เด็กเคลื่อนไหวไปตามมุมต่างๆตามคำสั่งของคุณครู

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
      ในวันแรกยังไม่สอนเรื่องวงจรชีวิตของผีเสื้อ
      ขณะที่เด็กๆทำท่าบินไปมุมผีเสื้อแต่ละมุมครูไม่ควรเคาะจังหวะแต่เมื่อไรที่บินออกจากมุมให้ครูเคาะจังหวะเพื่อให้เด็กบินกลับมาสู่กลางห้องเรียนเพื่อที่จะเตรียมบินไปสู่มุมอื่นๆตามคำสั่งของคุณครู
      เพิ่มเติมถ้าอยากให้เด็กฝึกการทรงตัว ครูอาจจะใช้เทคนิคการเคาะแบบมีเสียงลากยาวๆเบาๆเป็นเสียงกริ๊กกกกก...........กริ๊กก! เพื่อให้เด็กค่อยๆกาวขาช้าๆเรื่อยๆแต่ยังไม่วางเท้าลงไปบนพื้น จนกว่าจะได้ยินเสียงเคาะ กริ๊ก! ดังครั้งสุดท้าย ข้อควรระวังวิธีการเคาะอย่าเคาะช้าจนเกินไป


กลุ่มที่4 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะหน่วยเห็ด
กิจกรรมพื้นฐาน 
1.ครูเก็บเด็กโดยการร้องเพลง นั่นเสียงอะไร ให้เด็กมีความพร้อมก่อนการทำกิจกรรม 
กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา                       
2.ครูร้องเพลงจับมือกันเป็นวงกลม แล้วให้เด็กๆยืนเป็นครึ่งวงกลมจากนั้นคุณครูมีเพลง เห็ดแสนอร่อยมาสอนเด็กร้องแล้วให้เด็กๆเต้นตาม
                                           เพลงเห็ดแสนอร่อย
                                   ว๊าวนั่นเห็ด เห็ดแสนอร่อย
                                  กินบ่อยๆร่างกายแข็งแรง
                                   เห็ดนางฟ้า  เห็ดหูหนู  เห็ดมันปู เห็ดเข็มทอง
                                     เด็กๆอยากลอง  ว๊าวว๊าวว๊าวว๊าว อยากลองกินเห็ด
                                     เมื่อเด็กได้ลอง วู๊วู๊วู๊วู๊  หนูชอบกินเห็ด

ให้เด็กๆออกมาเป็นผู้นำผู้ตาม โดยให้เด็กออกมาคิดท่าของตนเองแล้วให้เพื่อนทำท่าตามออกมาทำท่าสลับกันจนครบทุกคน
                             
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
             การสร้างข้อตกลงไม่ควรใช้คำสั่งให้เด็กวิ่งเพราะในสัญญาณการเคาะถ้าเคาะเร็วเด็กก็ต้องมีการเคลื่อนไหวเร็วอยู่แล้ว  ข้อตกลงเพิ่มเติมอาจให้เด็กเคลื่อนไหวในแบบอื่นๆแทน เช่นการสคริป ควบม้า เป็นต้น
             รูปแบบการเคลื่อนไหวอาจเพิ่มเติมโดยการให้เด็กเคลื่อนไหวโดยการเปลี่ยนทิศทางไปทางซ้าย ขวา หน้า หลัง
             วิธีการแบ่งกลุ่มเด็กมีการแบ่งกลุ่มให้ทำท่าโดยใช้วิธีการนับตัวเลข ใครได้เลขเหมือนกันอยู่กลุ่มเดียวกัน สมมติว่าทั้งห้องแบ่งได้ทั้งหมด 3 กลุ่ม ให้กลุ่ม1 ทำหน้าที่ร้องเพลง กลุ่ม2ทำหน้าที่ตบมือ กลุ่มที่3 ทำหน้าที่เต้น เป็นการรู้จักฝึกการทำตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง




Things that need to be developed
- การสอนเคลื่อนไหวต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนโดยเริ่มจากการให้เด็กได้เคลื่อนไหวพิ้นฐานแบบธรรมดา อย่างง่ายๆก่อนแล้วค่อยสร้างข้อตกลงกับเด็ก
- คำว่า จังหวะและสัญญาณแตกต่างกัน จังหวะ คือ ระดับในการเคาะเครื่องเคาะจังหวะ เร็ว ช้า ขณะให้เด็กเคลื่อนไหว เช่น จังหวะของการก้าวเท้าของเด็ก ส่วน สัญญาณ เป็นสัญญาณเมื่อต้องการให้เด็กหยุดเคลื่อนไหว เช่น สัญญาณนกหวีด สัญญาณเคาะ2ครั้งติดกัน
-ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ตรงประสบการณ์สำคัญต้องสอดคล้องกับสิ่งที่เราจะสอน




ประเมินผล (Evaluation)

 Self-Evaluation

      ตั้งใจฟังอาจารย์แนะนำข้อเสนอแนะในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวของแต่ละกลุ่ม รู้สึกตื่นเต้นแทนเพื่อนที่ออกไปสอนเล็กน้อย ้พยายามเรียนรู้ข้อผิดพลาดร่วมกันกับเพื่อน เพื่อนำกลับไปปรับปรุงการสอนของตนเอง

 Friends-Evaluation
     เพื่อนเกือบทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม มีเพื่อนบางกลุ่มที่คุยกันขณะที่อาจารย์สอนทำให้อาจารย์มีการพูดติเตียนอยู่บ่อยครั้งแต่ก็ไม่ปรับปรุงตัว เพื่อนหลายคนที่ออกไปสอนรู้สึกประหม่ากับการสอนเคลื่อนไหวทุกคนมีความตั้งใจในการสอนเพียงแต่ยังสอนได้ไม่ถุกหลัก

Teacher-Evaluation

       อาจารย์ให้คำแนะนำในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวของแต่ละกลุ่มได้ละเอียดมาก อาจารย์มีความตั้งใจและมุ่งหวังที่จะให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถนำสิ่งที่เรียนนำไปใช้เมื่อเป็นนักศึกษาฝึกสอน








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น