What I have learned today
วันนี้แต่ละกลุ่มออกมาทดลองสอนในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของวันศุกร์และทดลองสอนในวันที่ต้องมีการแก้ไขการสอน
Group1 สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วยยานพาหนะ
สอนเรื่องข้อควรระวังในการใช้รถยนต์
ขั้นนำ
1. ครูเล่านิทาน
เรื่องปลอดภัยไว้ก่อน
2.
ครูถามคำถามเกี่ยวกับข้อควรระวังในการใช้ยานพาหนะจากในนิทาน
ขั้นสอน
3.
ครูถามปะสบการณ์เดิมของเด็กพร้อมเขียนคำตอบลงในแผ่นชาร์ต
4.
ครูนำภาพการปฏิบัติตนในการใช้ยานพาหนะที่เหมาะสม และไม่เหมาะสมมาให้เด็กดู
และนำไปติดบนแผ่นชาร์ต
ขั้นสรุป
5.
ครูทบทวนข้อควรปฏิบัติตนในการใช้ยานพาหนะอย่างถูกต้องให้แก่เด็กๆ
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
ข้อควรระวังเรื่องการดูแล เช็ดเครื่องยนต์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดูแลรักษาไม่ใช่เรื่องของความปลอดภัย
ข้อควรระวังควรพูดถึงเรื่องของ การนั่งรถควรคาดเข็มขัด การลงเรือควรนั่งให้เรียบร้อย ขับรถไม่เกินที่กำหนด เรียนรู้เรื่องกฎจราจร เป็นข้อปฏิบัติที่กำหนดให้ทำตามเพื่อความปลอดภัย
Group2 กิจกรรมเสริมประสบการณ์หน่วยส้ม
กิจกรรมcooking ทำน้ำส้มคั้น orange juice
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-ขั้นตอนในการทำน้ำส้มขั้นนอกเหนือจากการเขียนแล้วต้องมีการวาดภาพประกอบทุกคำศัพท์ที่สามารถวาดออกมาเป็นภาพได้เพราะเด็กไม่สามารถอ่านออกได้ ถ้าวาดภาพเด็กจะเข้าใจได้ง่าย
-ขั้นตอนในการทำน้ำส้มที่เขียนลงในชาร์ทยังไม่ละเอียด ต้องมีการเขียนเป็นขั้นตอนที่ชัดเจนกว่านี้ขั้นตอนแรกก่อนการนำส้มไปคั้นอย่าลืมที่จะล้างส้มให้สะอากก่อน
-ในขั้นแรกของการสอน ครูต้องเริ่มจากการแนะนำอุปกรณ์ให้เด็กรู้จักก่อน คือ แก้วน้ำ ที่คั้นน้ำส้ม และต่อไปค่อยแนะนำวัตถุดิบ คือ ส้ม น้ำตาล เกลือ หลังจากแนะนำอุปกรณ์และวัตถุดิบเสร็จแล้วครูจะเปิดประเด็นในขั้นนำโดยใช้คำถาม ถามเด็กๆว่า เด็กๆคิดว่าคุณครูนำอุปกรณ์และวัตถุดิบเหล่านี้มาทำอะไรคะ? หลังจากที่เด็กตอบคำถามคุณครูแล้วคุณครูก็จะสาธิตขั้นตอนการทำน้ำส้มคั้นให้เด็กดู เหตุผลที่ต้องสาธิตให้เด็กดูก่อนก็เพื่อที่จะให้เด็กเข้าใจขั้นตอนการทำน้ำส้มถ้าไม่สาธิตเด็กก็จะไม่สามารถคั้นน้ำส้มเองได้เพราะการคั้นน้ำส้มเป็นการทำที่มีขั้นตอนที่แน่นอนไม่สามารถทำมั่วๆเองได้ หลังจากที่คุณครูสาธิตการทำน้ำส้มให้เด็กดูแล้วครูอาจจะต้องมีการแบ่งกลุ่มให้เด็กทำน้ำส้มโดยให้เด็กๆแต่ละกลุ่มออกมายกวัตถุดิบในการทำน้ำส้ม หลังจากที่เด็กทำน้ำส้มคั้นเสร็จแล้วคุณครูจะให้เด็กๆออกมาเล่าการทำน้ำส้มของตนเองว่าเด็กรู้สึกอย่างไร มีปัญหาอะไรบ้างจากการทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม
-กิจกรรมนี้สามารถสอดแทรกสาระทางคณิตศาสตร์ได้ขณะที่เด็กแบ่งน้ำแข็งในเรื่องการแบ่งจำนวนน้ำแข็ง เช่น น้ำแข็งครึ่งแก้ว เมื่อเทรวมกัน2 แก้วได้เต็ม 1 แก้วพอดี ได้เรื่องของการรวม แต่ถ้าจะสอนการแบ่งครึ่งอาจจะให้เทน้ำแข็งออกมาครึ่งหนึ่งใน1 แก้วจะได้น้ำแข็งทั้งหมด 2 แก้ว
-การเขียนชาร์ทให้เขียนแยกระหว่างอุปกรณ์กับวัตถุดิบให้ชัดเจนไม่ควรนำมารวมกัน ปริมาณของวัตถุดิบต้องบอกให้ชัดเจนด้วยว่ามีปริมาณเท่าใดการบอกปริมาณสำหรับเด็กอาจบอกเป็น กี่แก้ว หรือ กี่ช้อน แทนได้
-สาระที่ควรเรียนรู้ควรเขียนว่า ส้มสามารถนำไปทำเป็นเครื่องดื่มได้เช่นทำน้ำส้มคั้นได้โดยมีขั้นตอนดังนี้....(อธิบายขั้นตอนการทำ)
Group3 กิจกรรมเสริมประสบการณ์หน่วยกล้วย
กิจกรรมcooking ทำกล้วยกวน
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-แผ่นเขียนชาร์ทต้องมีการเขียนบอกสัดส่วนของวัตถุที่ใช้ให้ละเอียดชัดเจน และในการทำวัตถุดิบต้องมี การวางเรียงใส่ถ้วยหรือจาน หรือใส่แก้วให้เด็กเห็นสัดส่วนได้ชัดเจน
-การแบ่งกลุ่มให้เด็กทำเป็นฐานอาจแบ่งได้ดังนี้ การแบ่งเป็นฐานจะให้เด็กทำาลับกันให้ครบทุกฐาน
กลุ่มที่1 ให้เด็ก วาดภาพสัดส่วน วัตถุดิบในการทำกล้วยเชื่อม
กลุ่มที่2 ให้เด็กปอกกล้วยและหั่นกล้วยของแต่ละคนและหยิบกล้วยใส่ถ้วยของแต่ละคน
กลุ่มที่3 .ให้เด็กมาดูขั้นตอนวิธีการทำของคุณครู ให้ดูว่ากล้วยจะสุกได้อย่างไร เด็กจะได้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในขั้นตอนนี้
-กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนแรกของกระบวนการวิทยาศาสตร์คือการตั้งประเด็นปัญหา คำถามในการตั้งประเด็นปัญหาเช่น ทำอย่างไรให้กล้วยสุกและกลายเป็นของหวานได้
ขั้นที่2คือตั้งสมมติฐาน เช่น ถามเด็กๆว่าถ้าคุณครูเอากล้วยใส่น้ำเชื่อมที่มีเฮลบูบอยจะเกิดอะไรขึ้น
ขั้นที่3ทดสอบสมมติฐาน คือให้เด็กสังเกตดูการเปลี่นแปลงของกล้วยเป็นขั้นตอนของการสังเกตสมมติฐานและเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อเป็นการสรุป (การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์สรุปและนำไปตอบกับสมมติฐาน)
เครื่องมือที่ใช้คือ การสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูล
-สาระที่ควรเรียนรู้ เขียนว่า กล้วยนำไปทำประกอบอาหารประเภทของหวานได้เช่นกล้วยเชื่อมได้โดยมีขั้นตอนดังนี้....(อธิบายขั้นตอนการทำ).
-การจัดกิจกรรมcooking
ในขั้นนำ เริ่มจาก1-ครูแนะนำวัตถุอุปกรณ์และส่วนผสม
2 -ครูถามเด็กๆว่าวัตถุอุปกรณ์ที่นำมาสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง
ขั้นสอน 3 ครูแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่1วาดรุปส่วนผสมและอุปกรณ์
กลุ่มที่2 ปอกกล้วย หั่นกล้วยออกเป็น 4 ส่วน
กลุ่มที่3 ทดลองเชื่อมกล้วย
ให้เด็กๆหมุนเวียนกันทำให้ครบทุกกลุ่ม
ขั้นสรุป คุณครูและเด็กๆร่วมกันสรุปขั้นตอนในการเชื่อมกล้วย
Group4 กิจกรรมเสริมประสบการณ์หน่วยผีเสื้อ
กิจกรรมcooking ทำขนมปังปิ้งหน้าผีเสื้อ
ขั้นนำ
1.ครูแนะนำวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่นำมาให้เด็กๆฟัง
2.ครูใช้คำถามกับเด็กๆว่า “
เด็กๆคิดว่าวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ครูนำมาวันนี้สามารถนำมาทำอะไรคะ”
ขั้นสอน
3.ครูสาธิตวิธีการทำให้เด็กๆดูทีละขั้นตอนอย่างละเอียด
4.แบ่งกลุ่มเด็กเป็น 4 กลุ่ม และเข้าตามฐานดังนี้
กลุ่มที่ 1
วาดรูปวัตถุดิบและอุปกรณ์
กลุ่มที่ 2 ปิ้งขนมปัง
กลุ่มที่ 3 ทาเนย
กลุ่มที่ 4
ตกแต่งขนมปัง ( รูปผีเสื้อ )
หมุนเวียนทำจนครบทุกฐาน
ขั้นสรุป
5.เด็กๆออกมานำเสนอผลงานของตนเองและเล่าปัญหาในการทำ
6.ครูและเด็กร่วมกันสรุปวัตถุดิบ-อุปกรณ์
และวิธีการทำขนมปังปิ้ง
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
สาระที่ควรเรียนรู้เขียนว่า ผีเสื้อมีความสวยงามคนเราเลยมักจะเอามาใช้เป็นเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ตกแต่งสิ่งต่างๆ
โต๊ะกลุ่มที่2 ปิ้งขนมปัง สามารถสอนให้เด็นเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาสาสตร์ เริ่มจาก ตั้งสมมติฐานว่า เด้กๆคิดว่าถ้าเราใส่ขนมปังลงไปในเครื่องปิ้งขนมปังจะเกิดอะไรขึ้น หลังจากตั้งสมมติฐานแล้วจะไปที่การทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐาน ขณะที่ทดลองเราจะเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกตการเปลี่ยนแปลงเช่น ครูถามว่า สีขนมปังเป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร แข็งหรืออ่อน